วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ

1.แนวความคิดตามทฤษฎีบุคลิกภาพของฟรอยด์ ซักมัน ฟรอยด์

โครงสร้างของบุคลิกภาพ (Structure of Personality)
         ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพจะประกอบด้วย อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) โดยจะอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้
          1. อิด ( Id ) จะเป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ
( Instinct ) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ ความสุข ความพอใจ 
           2. อีโก้ ( Ego ) จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน อิด และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง และขอบเขตที่สังคมกำหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็นใคร
           3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego)เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม จริยธรรมที่พัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะรับเอาค่านิยม บรรทัดฐานทางศีลธรรมจรรยา

พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
           ฟรอยด์ ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ (Stage of Psychosexual Development) จากความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศในเด็กทารกที่แสดงออกมาในรูปพลังของ ลิบิโด (Libido) และสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายและบริเวณที่พลังลิบิโดไปรวมอยู่เรียกว่า ที่ของความรู้สึกพึงพอใจ (Erogeneous Zone) เมื่อพลังลิบิโดไปอยู่ในส่วนใดก็จะก่อให้เกิดความตึงเครียด (Tension) ซึ่งฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่
            1. ขั้นปาก (Oral Stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูดนมแม่จึงเป็นความสุขและความพึงพอใจของเขา
            2. ขั้นทวารหรือขั้นอวัยวะขับถ่าย (Anal Stage) เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร โดยที่เด็กจะมีความพึงพอใจเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น หรือเร้าบริเวณทวารในระยะนี้เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีความพึงพอใจกับความสามารถในการควบคุมอวัยวะของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย กิจกรรมที่เด็กมีความสุขจะเกี่ยวข้องกับการกลั้นอุจจาระ (Anal Retention) และการถ่ายอุจจาระ (Anal Expulsion) ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นในขั้นนี้คือ การฝึกหัดการขับถ่าย(Toilet) Training ดังนั้น ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
            3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) เริ่มตั้งแต่ 3 - 5 ขวบ ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ โดยที่เด็กเกิดความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก ถ้าเด็กมีเพศตรงข้ามกับพ่อแม่เด็ก จะทำให้เด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา เด็กหญิงจะรักใคร่และหวง แหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉาและเป็นศัตรูกับแม่
            4. ขั้นแฝง (Latency Stage) เริ่มตั้งแต่ อายุ 6 - 11 ปี ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ และจินตนาการทางเพศ

             5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage) เริ่มจาก 12 ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา โดยมี Erogonous Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ (Genitel Area) เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งหญิงและชายต่างๆ กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายมีความสามารถในการสืบพันธุ์ ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการทางเพศอย่างรุนแรง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระ

2.แนวความคิดตามทฤษฎีบุคลิกภาพของอีริคสัน อีรค อีริคสัน

          อีริคสันได้จำแนกพัฒนาการทางบุคลิกภาพของมนุษย์เป็น 8 ขั้น
          ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ หรือความไม่ไว้วางใจ (Trust Versus Mistrust) ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต
         
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเอง หรือความละอาย สงสัย (Autonomy Versus Shame And Doubt) ในช่วงขวบปีที่ 2 ของชีวิต
         
ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่ม หรือความรู้สึกผิด (Initiatives Versus Guilt) ช่วงเวลา 3-5 ขวบ
         
ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียร หรือความรู้สึกมีปมด้อย (Industry Versus Inferiority) ในช่วงอายุ 6-11 ปี
         
ขั้นที่ 5 ความมีเอกลักษณ์ของตนเอง หรือความสับสนไม่เข้าใจตนเอง (Identity Versus Role Confusion) ในช่วงอายุ 12-19 ปี
         
ขั้นที่ 6 ความรู้สึกผูกพันและการแยกตัว (Intimacy Versus Isolation) เป็นช่วงวัยผู้ใหญ๋ตอนต้น
         
ขั้นที่ 7 ความรู้สึกรับผิิดชอบแบบผู้ใหญ่ หรือความเฉื่ยชา (Generativity Versus Stagnation) เป็นช่วงวันกบางคน
         
ขั้นที่ 8 ความรู็สึกมั่นคงในชีวิต และความสิ้นหวัง (Ego Integrity Vernus Despair) เป็นช่วงที่บุคคลเข้าสู่วัยชรา

         
สรุปคือ พัฒนาการทั้ง 8 ขั้น ดังกล่าว  จะเห็นว่าพัฒนาการ 5 ขั้นแรก อยู่ในช่วงวัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น ซึ่งเขาให้ความสนใจมากกว่า พัฒนาการ 3 ขั้น สุดท้าย ซึ่งอยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ ทั้งนี้ เพราะพัฒนาการในช่วง 5 ขั้นแรก มีผลต่อพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่

3.แนวความคิดตามทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของแฮรี่ สแตน ซัลลิแวน

         ซัลลิแวนได่แบ่งพัฒนาการของมนุษย์เป็นขั้นๆ ตามช่วงวัยและประสบการณ์ของบุคคลเป็น 7 ขั้น ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงวัยของอีริคสัน ดังต่อไปนี้

         
ขั้นตอนที่ 1 วัยทารก ช่วงแรกเกิดจนถึงระยะที่ทารก สามารถฟังและพูดภาษาได้รู้เรื่อง
         
ขั้นตอนที่ 2 วัยเด็ก เป็นช่วงที่เด็กรู้จักคิด และสื่อสารด้วยระบบสัญลักษณ์ ซึ่งมักเป็นภาษาถ้อยคำ มีกลุ่มเพื่อนๆร่วมวัย
         
ขั้นตอนที่ 3  วัยก่อนวัยรุ่น เป็นระยะเด็กเข้าโรงเรียนชั้นประถม ชีวิตสังคมกว้างขวางออกไปอีก
         
ขั้นตอนที่ 4 วัยแรกรุ่น เป็นระยะที่บุคคลรู้จัก และยึดความเห็นของตนเป็นศูนย์กลาง (Ego Centeric) เพื่อสร้างไมตรีจิตอัน สนิทสนม กับเพื่อน โดยเฉพาะกับเพื่อนเพศเดียวกัน
         
ขั้นตอนที่ 5 วัยรุ่นตอนต้น เป็นระยะที่สนใจเรื่องเพศและความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม ทั้งกิจกรรมประจำวันตาม ความเป็นจริงและตามความเป็นจริงและตามที่นึกฝันเอาเอง
         
ขั้นตอนที่ 6 วัยรุ้นตอนปลาย เป็นช่วงที่สามารถเลือกทำกิจกรรมทางเพศ ตามที่ตนพอใจมากกว่าที่ผ่านมา
         
ขั้นตอนที่ 7 วัยผู้ใหญ่ ถ้าบุคคลมีพัฒนาการดำเนินมาดีโดนตลอด 6 ขั้นตอน ที่ผ่านมา ผู้นั้นก็เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อย่างมีวุฒิภาวะ มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ กับผู้อื่นเป็นอย่างดี

         
สรุปคือซัลลิแวนมีความเชื่อว่า การพัฒนาบุคลิกภาพในเยาว์วัยมีความสำคัญมากที่สุด และเป็นวัยที่กำหนดชี้แนวทางพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลในอนาคต อีกทั้งเป็นวัยที่ริเริ่มรู้จักโลก อันสลับซับซ้อน และเริ่มมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นมากขึ้น


4.แนวความคิดตามทฤษฎีจิตวิทยาเชิงวิเคราะห์ของจุง

จุงเรียกโครงสร้างบุคคลิภาพที่เรียกว่า จิต (Psyche)  ซึ่งประกอบด้วยระบบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน ได้แก่

          1. อีโก้ (Ego) เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ที่บุคคลรับรู้ และรวมถึงความคิด ความรู้สึกต่างๆ และความจำ
          2.
จิตไร้สำนึกส่วนบุคคล (The Personal Unconsciuos) เป็นส่วนที่อยู่ใกล้กับอีโก้
          3.
หน้ากาก (Persona) เป็ฯภาวะที่บุคลลต้องแสดงตน หรือแสดงพฤติกรรมตามที่สังคมคาดหวัง หรือตามประเพณีนิยม
          4.
ติตไร้สำนึกสะสม (The Collective Unconsciuos) เป็นส่วนของความจำ หรือพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ ที่เก็บสะสมมาหลายชั่วอายุ และถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน
          5.
เงา (Shadow) เป็นความระลึก นึกคิด ที่ติดตัวมาเหมือนเงาตามตัว และถูกบดบังไว้ในจิตไร้สำนึก ขนบประเพณี
          6.
ลักษณะของความเป็นชายและความเป็นหญิง (Anima and Animus) จุงเชื่อว่า ผู้ชายและผู้หญิงทุกคนจะมีส่วนประกอบของเพศตรงข้ามอยู่ในตัว

จุงแบ่งบุคลิกภาพเป็น 3 ประเภท คือ

          1.
บุคลิกภาพแบบเก็ฐตัว (Introvent) เป็นคนลึกลับ ชอบเก็บตัว และผูกพันกับตนเองมากกว่าที่จะผูกพัน กับสังคม
          2.
บุคลิกภาพแบบเปิดเผย (Extervert) เป็นคนเปิดเผย ร่าเริง ชอบเข้าสังคม สนใจสิ่งแวดล้อม
          3.
บคุลิกภาพแบบกลางๆ (Ambivert) มีลักษณะก้ำกึ่งระหวางบุคลิกภาพแบบเก็บตัว และแบบเปิดเผย คือ ไม่เก็ฐตัวมากเกินไป เข้าสังคมบ้างแต่ก็ไม่บ่อยจนเกินไป


5.แนวความคิดตามทฤษฎีจิตวิทยารายบุคคล (Individual Psychology) อัลเฟรด แอดเลอร์


แนวความคิดบุคลิกภาพของแอดเลอร์ มีดังนี้

          1.
ความปรารถนามีปมเด่น (Stringving for Superiority) แรงจู.ใจสำคัญ ซึ่งครอบงำพฤติกรรมส่วนใหญ่ และลักษณะบุคลิกภาพของตน
          2.
ปมด้อย (Inferiority) ความปรารถนามีปมเด่น จะสัมพันธ์กับคงามรู้สึกต่ำต้อย และการแสวงหาสิ่งชดเชย ทุกคคนจะมีจุดอ่อน ไม่ว่าทางกาย ทางสังคม ทางอารมณ์ ซึ่งจุดอ่อนนี้จะมีมากน้อยต่างกันไป
          3.
ประสบการณในวัยเด็ก แอดเลอร์มีความเชื่อว่าประสบการณ์ในวัยเด็ก มีอืทธฺพลต่อลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ ปมเด่น ปมด้อย ของบุคลลทุกคน เขาให้ข้อคิดเห็นว่า เด็กจะเติบโตเป็นผู็ใหญ่ที่มีปัญหา ได้แก่
          -
เด็กที่มีปมด้อย จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความเข้าใจว่า ตนเองเป็นผู็มีเคราะห์กรรม ต้องพบความล้มเหลวตลอดเวลา
          -
เด็กที่ถูกเอาใจ จนเสียเด็ก มักจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เอาแต่ใจตนเอง เป็นบุคคลที่เห็นแก่ตัว
          -
เด็กที่ถูฏทอดทิ้ง มักจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้สึกฝังใจว่าตนเป็นผู้ที่คนอื่นรังเกียจ และเหยียดหยาม
          4.
สัมพันธภาพภายในครอบครัว (Family  Relationship) แอดเลอร์ตั้งข้อสังเกตว่า ลำดับการเกืดในครอบครัว มีผลต่อบุคลิกภาพของบุคคล ดังนี้
          -
ลูกคนโต มักจะเป็นขวัญใจของครอบครัว ได้รับการเลี้ยงอย่างดี แบบปนะคบประหงม จึงมีความรู้สึก ในความสำคัญของตนเป็นอย่างมาก เมื่อมีน้องใหม่ จะรู้สึกว่าตนเองถูกแย่งความรัก ความสนใจไป
          -
ลูกคนรอง พ่อแม่ มักเลี้ยงด้วยความสบายใจ เพารฃฃราะมีประสบการณ์จากการเลี้ยงลูกคนแรกมาแล้ว ไม่เคร่งครัด พิถีพิถัน เท่าลูกคนแรก
          -
ลูกคนสุดท้อง โดยมากมักจะได้รับการเอาใจใส่ จากพ่อแม่ และพี่ๆ เพราะไม่มีเด็กเล็กกว่านี้ในครอบครัว
          -
ลูกคนเดียว มักจะไม่พ้นนจากการถูกตามใจ จนเหลิง แต่ลูกคนเดียวมีโอกาสดี ตรงที่ไม่ถูกแย่งความรัก จึงทำให้เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
          5.
อิทธฺพลแห่งวัฒนธรรม (Cultural Influencys) นอกจากอิทธฺพลของครอบครัวแล้ว แอดเลอร์เห็นว่าวัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตที่คนเราเกิดมา ก็มีความสำคัญยิ่ง ต่อการสร้างบุคลิกภาพ

         
วัฒนธรรมทางสังคมมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของคนเราเป็นอย่างมาก เป็นส่วนที่ทำให้คนแต่ละสังคม แต่ละชาติแตกต่างกัน ทั้งความติดเห็น และการดำเนินชีวิต

          สรุปคือ วัฒนธรรมทางสังคมมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของคนเราเป็นอย่างมาก เป็นส่วนที่ทำให้คนแต่ละสังคม แต่ละชาติแตกต่างกัน ทั้งความติดเห็น และการดำเนินชีวิต

6.แนวความคิดตามทฤษฎีตัวตนของโรเจอร์ (Roger's Self Theory) 


โครงสร้างบุคลิกภาพของคนเราตามทัศนะของโรเจอร์ ประกอบด้วยตัวตน (Self) 3 แบบ ดังนี้

         1. ตัวตนที่มองเห็น (Self Concept หรือ Perceived Self) เป็นภาพของตนที่เห็นเองว่า ตนเป็นอย่างไร คือใคร มีความสามารถ มีลักษณะเฉพาะตนอย่างไร เช่น คนสวย คนเก่ง คนช่างพูโ เป็นต้น
          2. ตัวตนตามที่เปฝ้นจริง (Real Self) เป็นลักษณะของบุคคลที่เป็นไปตามข้อเท็จจริง ซึ่งตรงกับที่ผู้อื่นมองเห็น
          3. ตัวตนตามอุดมคติ (Ideal Self) เป็นตัวตนที่อยากมี อยากเป็น แต่ยังไม่มีให้เป็นในสภาวะปัจจุบัน

         อย่างไรก็ตามโรเจอร์มีแนวความคิดว่า บุคคลที่ลักษณะสมบูรณแบบ (Full Functioning Persons) จะมีคุณลักษณะเฉพาะ ดังนี้

          1. เป็นผู้เปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ
          2. มีชีวิตอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง
          3. มีความไว้วางใจตนเอง
          4. มีลักษณะสร้างสรรค์
          5. มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าคนอื่น


7.แนวความคิดตามทฤษฎีบุคลิกภาพของฮอร์นาย คาเรน ฮอร์นาย (Karen Horney)


 ความต้องการทางประสาท ได้แก่

          1.   ความต้องการความรักและการยอมรับ
          2.   ความต้องการมีคู่ครอง
          3.   ความต้องการที่จำกัดตนอยู่ในวงแคบ
          4.   ความต้องการมีอำนาจ
          5.   ความต้องการทำลาย เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
          6.   ความต้องการที่จะได้รับความยกย่องและการสรรเสริญ
          7.   ความต้องการที่จะให้คนอื่นชื่นชมตนเอง
          8.   ความต้องการสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง
          9.   ความต้องการที่แยกตัวจากคนอื่น
          10. ความต้องการความสมบูรณ์แบบ ชนิดหาที่ติมิได้

        สรุปคือ มนุษย์ทุกคนจะมีความต้องการแบบนี้ท้งสิน สำหรับคนที่มีสุขภาพจิตดีนั้น จะมีความต้องการน้อยกว่า คนที่มีสุขภาพจิตเสื่อม เพราะคนปกติสามารถแก้ข้อคัดแย้งต่างๆ ที่เกืดจากความต้องการเหล่านี้ได้ดีกว่า ดังนั้นฮอร์นาย จึงเน้นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ที่มีต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์


8.แนวความคิดตามทฤษฎีบุคลิกภาพของฟรอมม์ อีริค ฟรอมม์ (Erich From)


ความต้องการที่เป็นพื้นฐานสำคัญของบุคลิกภาพแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้


         1. ความต้องมีสัมพันธภาพ (Need for Relatedness)
         2. ความต้องการสร้างสรรค์ (Need for Transeendence)
         3. ความต้องการมีสังกัด (Need for Rooteness)
         4. ความต้องการมีเอกลักษณ์ (Need for Identity)
         5. ความต้องการมีหลักยึดเหนี่ยว (Need for Frame of Orientation)

ฟรอมม์ได้แบ่งลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลในสังคมเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

         1. บุคลิกภาพประเภทไม่สร้างสรรค์ มี 4 ลักษณะ ได้แก่

             1 บุคลิกภาพชอบทำลาย มีความก้าวร้าวสูง
             2 บุคลิกภาพยอมิจ ชอบรับฟัง หรือทำตามผู้อื่น
             3 บุคลิกภาพชอบท้าทาย เป็นนักธุรกิจ ชอบเก็บของแล้วขายต่อ
             4 บุคลิกภาพชอบสะสม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หรือตัวบุคคล

        2. บุคลิกภาพประเภทสร้างสรรค์ มีลักษณะกระตือรือร้น มีความคิดสร้างสรรค์ พยายามสร้างสิ่งแปลกๆใหม่ๆ ให้เิดขึ้นในสังคมเสมอ บุคลิกภาพแบบนี้ จึงเป็นบุคลิกภาพที่ดี


9.แนวความคิดตามทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร (Transactional Analysis) โดย อีริค เบอร์น    (Eric Berne)


สภาวะส่วนตนประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญ
3 ส่วน ได้แก่


          1. สภาวะการเป็นพ่อแม่ เป็นสภาวะส่วนตนที่แสดงบุคลิกภาพเป็นแบบพ่อแม่ หรือผู็ปกครองที่มีอิทธิพลเหนือกว่า แบ่งได้ 2 แบบ คือ

               - พ่อแม่ที่มีความเมตตา (Nurturing Parent)
               - พ่อแม่ที่บังคับควบคุม (Critical Parent)

          2. สภาวะความเป็นเด็ก (Child Ego Stage) เป็นสภาวะส่วนตนที่แสดงบุคลิกภาพแบบเด็ก มี 2 แบบ ได้แก่

               - เด็กตามธรรมชาติ (Natural Child)
               - เด็กปรับตัว (Adapted Child)

           3. สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ (Adult Ego Stage) เป็นสภาวะส่วนตนที่แสดงบุคลิกภาพในลักษณะการใช้เหตุผล แสวงหาข้อมูล ความรู้ต่างๆ

          สรุปคือ สภาวะส่วนตนดังกล่าว จะมีอยู่ในบุคคลทุกคน แล้วแต่ว่า เมื่อบุคคลนั้นติดต่อส สื่อสาร กับผู้ใดก้ตาม เขาจะแสดงสภาวะส่วนตนที่เป็นลักษณะเด่นออกมา บุคคลที่มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี จะมีสภาวะส่วนตนได้สัดส่วนกัน แต่ในชีวิตจริงนั้น มักจะเน้นส่วนใดส่วนหนึ่งออกมา


10.แนวความคิดตามแนวพุทธศาสนา


ในทางพุทธศาสนา ถือว่ามนุษญ์เป็นสิ่งที่มีชีวิต ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่

          1. รูปขันธ์ คือ ลักษณะทางกาย ได้แก่ อวัยวะต่างๆ ที่เป็นกระดูก เนื้อหนัง โลหิต และประสาทสัมผัส
          2. นามขันธ์ หมายถึง จิตใจ เป็นลักษณะที่แสดงถึงความมีชีวิตของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับสภาพทางกาย จิตมีกระบวนการทำงาน 4 ด้าน คือ
                 1. เวทนา หมายถึง การรับรู้ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดจากประสาทสัมผัส
                 2. สัญญา หมายถึง ความจำ ความสามารถจำแนก แยกแยะ สิ่งต่างๆได้
                 3. สังขาร หมายถึง คือความนึกคิด ปรุงแต่งจิตให้ดี ชั่ว หรือเป็นกลางๆ
                 4. วิญญาณ หมายถึง สภาวะที่จิตรับรู้้ ในอารมณ์ที่มากระทบ

พระพุทธเจ้าทรงจำแนก ลักษณะบุคลิกภาพบุคคล โดยยึดจริตเป็นหลักพื้นเพของจิตใจ จริตแบ่งได้ 6 ประเภท ดังนี้

          1. ราคจริต คนประเภทนี้จะรักสวยรักงาม มากกว่าสิ่งอื่นใด
          2. โทสจริต คนประเภทนี้มักจะหงุดหงิด ใจร้อน ตัดสินในเร็ว ไม่มีเหตุผล อบรบแนะนำได้ยาก
          3. โมหจริต คนประเภทนี้เป็นคนเฉื่อยชา ขาดความกระตือรือร้น ใจลอย ไม่สนใจการศึกษาเล่าเรียน
          4. ศรัทธาจริต คนประเภทนี้มักทำอะไรตามความเชื่อ
          5. วิตกจริต คนประเภทนี้เป็นคนคิดมาก กังวลมาก
          6. พุทธจริต คนประเภทนี้ฉลาด รู้จักใช้ความรู้ ใช้เหตุผล ว่านอนสอนง่าย ชอบความอิสระในการทำงาน รู้จักเลือกคนดี และรู้จักประมาณตน

        สรุปคือ  ลักษณะบุคลิกภาพดังกล่าวข้างต้น เป็นบุคคลที่มีลักษระบุคลิกภาพพุทธจริต จึงเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ เพราะเป็นผู้ที่สามารถปรับตัวอยู่ในสภาพแวดล้อม และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริง



ที่มา : -จิตวิทยาสำหรับครู. (11 กรกฎาคม 2555).ทฤษฎีของซิกมันด์ ฟรอยด์. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2559.จากhttp://konniana.blogspot.com/2012/07/blog-post_11.html                 - เอกสารประกอบการสอนสุขภาพจิต .อุไรวรรณ ไกรนรา.สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.(29 January 2016).