วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โรคที่เกิดจากพยาธิไส้เดือน


                      โรคที่เกิดจากพยาธิไส้เดือน (Ascariasis)

                โรคพยาธิไส้เดือน สามารถพบได้ทุกแห่งในโลก พบได้บ่อยในประเทศเขตร้อนที่มีอากาศ และพื้นดินชุ่มขึ้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพยาธิชนิดนี้ เป็นกันมากในหมู่ประชาชนที่ยากจนและขาดความรู้ในด้านสุขวิทยาส่วนบุคคลอยู่ในแหล่งที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี เช่น ไม่มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ขอบถ่ายอุจจาระลงบนพื้นดินในบริเวณใกล้เคียงบ้านเรือน เมื่อเด็กเล่นบนพื้นดิน จึงมีโอกาสที่จะได้รับไข่พยาธิเข้าร่างกายซึ่งมักเป็นมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กวัยเรียนและ วัยก่อนเรียน
ตัวแก่พยาธิไส้เดือน

ลักษณะทั่วไปของเชื้อ

                เชื้อที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่หนอนพยาธิชนิด แอสคาริส ลุมบริคอยดีส (Ascaris lumbricoides) มีรูปร่างคล้ายไส้เดือนดิน ตัวโตหัวและหางเรียวกลม สีขาวนวลหรือชมพูเรื่อๆ เป็นพยาธิตัวกลมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในลำไส้ใหญ่กว่าพยาธิตัวกลมชนิดอื่น ตัวผู้ยาว 15- 20 ซม.กว้าง 2-4 มม. ตัวเมียยาว 20-35 ซม. กว้าง 1-6 มม. ตัวผู้มักหางงอเล็กน้อย ตัวเมียหางไม่งอ มักอาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก ตัวเมียสามารถออกไข่ได้ประมาณ 200,000 ฟองต่อหนึ่งวัน ดังนั้นแม้จะมีอยู่ในร่างกายไม่กี่ตัวแต่ก็สามารถไข่ปนออกมากับอุจจาระได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งไข่ของพยาธิชนิดนี้ทนต่อสภาพแวดส้อมต่างๆภายนอกได้ดี ไข่อาจอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็น ปี ๆ ถือเป็นโรคพยาธิเรื้อรังที่อาศัยอยู่ในลำไส้



ตัวแก่พยาธิไส้เดือน
ที่มา : www.cai.md.chula.ac.th



แหล่งของโรค 

              ได้แก่มนุษย์หรือผู้ที่มีพยาธิไส้เดือนอาศัยอยู่ในร่างกายซึ่งส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว จนกว่าจะปรากฏอาการเกิดอันตรายของโรค หรือตรวจพบโดยแพทย์

วงจรชีวิตของพยาธิไส้เดือน 

               เมื่อไข่พยาธิไส้เดือนเข้าสู่ร่างกาย จะถูกน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ เล็กย่อยเปลือกหุ้ม ทำให้ตัวอ่อน (larvae) ออกจากไข่ ไชทะลุผนังลำไส้เล็กเข้าสู่วงจรเลือด หรือเข้าสู่หลอดโลหิตดำและหลอดน้ำเหลือง ส่วนมากจะถูกพาเข้าหลอดโลหิตดำเข้าสู่หัวใจข้างขวา ตับ และเข้าสู่ปอด จากนั้นจึงไชทะลุถุงลมคลานขึ้นมาตามหลอดลมแล้วถูกกลืนลงสู่หลอดอาหารกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ไปเจริญเป็นตัวแก่ ต่อจากนั้นจึงผสมพันธุ์และออกไข่ปนออกมากับอุจจาระ เป็นวัฏจักร






การติดต่อ 

                ตัวแก่ของพยาธิชนิดนี้อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กโดยไม่เกาะอยู่กับผนังของลำไส้ แต่จะเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมากับอุจจาระเมื่อตกลงสู่พื้นดิน ได้รับความชื้นและอุณหภูมิเหมาะ ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ในไข่และกลายเป็นระยะติดต่อใน 10-14วัน หรือนับจากไข่ของพยาธิเข้าสู่ร่างกายจนกลายเป็นตัวแก่สามารถออกไข่ได้ ประมาณ 1-2 เดือน ครึ่ง

ระยะติดต่อ 

               ตลอดเวลาที่ผู้ป่วยมีพยาธิที่สามารถผสมพันธุ์และออกไข่ได้อยู่ในร่างกาย ปกติพยาธิไส้เดือนตัวแก่จะมีชีวิตประมาณ 6 เดือน หากมีการติดพยาธิเข้าไปใหม่ จะทำให้มีพยาธิอยู่ในลำไส้ได้นาน

อาการ 

                อันตรายของผู้ป่วยหรือผู้ที่มีพยาธิไส้เดือนกลมอยู่ในร่างกายอาจไม่แสดงเด่นชัด แต่พยาธิจะแย่งอาหารจากร่างกาย โดยกินอาหารที่ย่อยแล้วที่ผนังลำไส้ เป็นสาเหตุให้ร่างกายขาดสารอาหารหรือได้รับอาหารไม่เพียงพอ เจริญเติบโตช้าโดยเฉพาะในเด็กทำให้อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ง่วงเหงาหาวนอน ไม่สนใจการเรียน เกิดการผิดปกติในร่างกาย เช่น อาเจียน ไอ เรื้อรัง หรืออาจเป็นมากถึงขั้นผอมพุงโร บางคนท้องเสียบ่อยๆ ทำให้เกิดลมพิษเนื่องจากของเสียที่พยาธิขับถ่ายออกมา หากมีอาการปวดท้องจะปวดเป็นพัก ๆ บางรายอาจอาเจียนเอาตัวพยาธิออกมา และอาจเกิดการอักเสบตามอวัยวะต่าง ๆที่พยาธิไชเข้าไปหากมีพยาธิอุดตันที่ลำไส้ เนื่องจากพยาธิไส้เดือนเกาะพันกันเป็นก้อน จะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน มีอาการดีซ่านเนื่องจากพยาธิเข้าไปอุดตันในท่อน้ำดี ควรรีบนำส่ง แพทย์โดยด่วน

การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค 

                 สามารถตรวจพบไข่และตัวแก่พยาธิได้จาก อุจจาระและอาเจียนของผู้ป่วย มีอาการอึดอัดในท้อง ปวดท้อง มีไข้ ปอดอักเสบ ไอเป็นโลหิต เป็นลมพิษ

การรักษาและควบคุมป้องกันโรค

                 ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะใช้ ให้ประชาชนรู้จักสุขลักษณะที่ดี โดยเฉพาะเด็กๆ ควรสอนให้ปฏิบัติสุขวิทยาส่วนบุคคล เช่น ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากถ่ายอุจจาระสำหรับผู้ที่เป็นโรคพยาธิควรกินยาถ่ายพยาธิ เพื่อจะได้ไม่แพร่เชื้อติดต่อไปสู่ผู้อื่น

ยาที่ใช้รักษาโรคพยาธิไส้เดือนตัวกลม

  1. ปีเปอราซีน (Piperazine) ดูวิธีใช้จากสลาก หรือ ดูเพิ่มเติมในเรื่องพยาธิเส้นด้าย
  2. เมเบนดาโซล (Mebendazole) ขนาด 100 มก. (1เม็ด) เช้าและเย็น รับประทาน 2 ครั้ง
  3. ไพราเทล พาโมเอท  คอมบันตริน Pyrantel pamoate (Combantrin) ขนาด 10 มก. /นน. ตัว 1 กก. รับประทานครั้งเดียว
  4. ฟูกาคาร์ (Fugacar) วิธีใช้ดูตามฉลาก
  5. ยาสมุนไพรพื้นบ้าน  ใช้เม็ดสะแกนา ประมาณ 10 เม็ด ตำทอดกับไข่ให้เด็กกิน สำหรับผู้ป่วยที่มีลำไส้อุดตันเนื่องจากพยาธิ ให้รักษาตามอาการ เช่น ใส่สายสวนดูดลมออก หรือให้การรักษาโดยวิธีศัลยกรรมโดยแพทย์ 


วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส

                         


                          Rubella virus


ลักษณะของเชื้อ

                ลักษณะของเชื้อ Rubella virus จัดอยู่ใน Genus Rubula virus Family Togaviridae รูปร่าง spherical หรือ pleomorphic ขนาด 60-70 nm ประกอบด้วยกรด ribonucleic (RNA สายเดี่ยว) ล้อมรอบด้วย envelope โรคหัดเยอรมันหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคเหือดเกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Rubella virus มีระยะฟักตัวของโรค 12-28 วัน (เฉลี่ย 2 สัปดาห์)



                                                             ลักษณะของเชื้อ Rubella virus
                                                             ที่มา: www.sciencepicture.co

การก่อโรค

                โรคหัดเยอรมัน (German measles) หรือ รูเบลลา (Rubella) เป็นโรคไข้ออกผื่น ที่พบทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ เนื่องจากแพทย์ชาวเยอรมันเป็นผู้ที่ให้คำอธิบายว่า โรคนี้เป็นโรคใหม่ที่ต่างจากหัด จึงเรียกโรคนี้ว่าหัดเยอรมัน เกิดจากการติด เชื้อรูบิไวรัส (Rubi virus) หรือ รูเบลลาไวรัส (Rubella virus) ซึ่งอยู่ในตระกูล โทกาวิริดี (Togaviridae) โรคนี้เป็นแล้วมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต เป็นโรคติดเชื้อที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ถ้ามีอาการจะมีไข้และออกผื่นคล้ายหัด แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าหัดและมักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่ถ้าเกิดการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ เชื้ออาจแพร่กระจายไปสู่ทารกในครรภ์ ทำให้เกิดการพิการได้
  
                   
อาการของโรคหัดเยอรมัน 

                การติดเชื้อในเด็กตั้งแต่หลังคลอดเป็นต้นไปและในผู้ใหญ่ ประมาณ 50% ของผู้ที่ติดเชื้อหัดเยอรมันจะไม่มีอาการส่วนผู้ที่มีอาการก็จะแบ่งเป็นระยะเช่นเดียวกับหัด คือระยะก่อนออกผื่นและระยะออกผื่น มีระยะฟักตัวนับตั้งแต่ติดเชื้อจนเกิดอาการประมาณ 12-23 วัน
  • ระยะก่อนออกผื่น จะมีอาการไข้ต่ำๆถึงปานกลาง (ไม่เกิน 38.5?C/เซลเซียส) อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีอาการปวดกระบอกตาโดยเฉพาะเวลากรอกตาไปด้านข้างและด้านบน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีต่อมน้ำเหลืองหลังใบหู บริเวณคอ หรือท้ายทอยมีขนาดโตคลำได้และเจ็บ อาการจะเป็นอยู่ประมาณ 1-5 วัน ในเด็กอาจจะไม่มีอาการในระยะนี้ ในขณะที่ผู้ใหญ่จะแสดงอาการมากกว่า นอกจากนี้ถ้าสังเกตให้ดีจะพบจุดเลือดออกเล็กๆบริเวณเพดานอ่อนในปาก เรียกว่า ฟอร์ไชเมอร์ สปอท (Forcheimer spots) พบได้ประมาณ 20% ของผู้ป่วย เมื่อผื่นขึ้นแล้ว อาจจะยังเห็นจุดเลือดออกเหล่านี้ได้ แต่อาการแสดงนี้ไม่จำเพาะเจาะจงกับโรคหัดเยอร มัน สามารถเจอในโรคอื่นได้ เช่น ในโรคหัด หรือไข้ออกผื่นอื่นๆ
  • ระยะออกผื่น ผื่นลักษณะเป็นตุ่มนูน หรือแบนเล็กๆ ขนาด 1-4 มิลลิเมตร (มม.) สีชมพูอ่อน ผื่นมักจะแยกกันอยู่ชัดเจนไม่มีการรวมกลุ่มกันแบบโรคหัด โดยผื่นจะเริ่มที่หน้าผากชายผม รอบปาก และใบหูก่อนที่อื่น แล้วลงมาที่ลำคอ ลำตัว แขนขา จนทั่วตัวภายใน 1 วัน อาจมีอา การคัน ผื่นจะเริ่มจางโดยเริ่มจากหน้าก่อนเช่นกัน และจะหายไปจนหมดส่วนใหญ่ภายใน 3 วัน (บางครั้งจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคหัด 3 วัน) โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น ระหว่างที่เป็นผื่นอาจมีอาการตาแดงน้ำมูกไหลร่วมด้วยได้
  • การติดเชื้อของทารกในครรภ์จากมารดา มารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว สามารถแพร่เข้าสู่ทารกโดยผ่านทางรก และทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อ เกิดความพิการตามมา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 3 อย่าง ดังนี้คือ

                     -หูหนวก พบได้ประมาณ 58% อาจเกิดกับหูข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง บางครั้งอาการอาจปรา กฏช้า โดยอาจเริ่มแสดงอาการตอนอายุ 2 ขวบ หรือนานกว่านี้ก็ได้
                     -เป็นต้อกระจก พบได้ประมาณ 43% มักเป็นทั้งสองตา (80%) หรืออาจพบจอตามีเม็ดสีผิด ปกติ จึงเกิดความผิดปกติในการเห็นภาพได้
                     -มีความพิการของหัวใจ พบได้ประมาณ 50% ความผิดปกติที่พบบ่อยของหัวใจ คือ มีการเชื่อมต่อของเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจกับเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไปปอด (ปกติเส้นเลือดทั้งสองต้องแยกจากกั้น) ความผิดปกติอื่นๆได้แก่ มีการตีบของเส้นเลือดแดงใหญ่ของปอด และ/หรือ การรั่วของผนังกั้นห้องหัวใจห้องบนหรือห้องล่าง
                     -ส่วนความผิดปกติอื่นๆที่อาจพบได้ ได้แก่ ทารกในครรภ์โตช้า อาจแท้งหรือคลอดก่อนกำ หนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (เลือดออกง่ายโลหิตจาง มี ตับ ม้ามโต มีภาวะตัวเหลืองตาเหลือง ปอดบวม เป็นต้อหินแต่กำเนิด มีหินปูนในสมอง ปัญญาอ่อน มีพฤติกรรมผิดปกติ ผิวหนังเป็นลายออกสีน้ำเงิน เป็นเบาหวานเมื่อเป็นผู้ใหญ่ (อายุ 20-30 ปี)


อาการแสดงของโรค
ที่มา: th.wikipedia.org


การวินิจฉัยโรคหัดเยอรมัน

               แพทย์วินิจฉัยโรคหัดเยอรมันได้จาก
  • การวินิจฉัยในผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่อาศัยจากอาการของผู้ป่วย และการตรวจร่างกาย เป็นหลัก
  • การตรวจเลือดซีบีซี จะพบภาวะเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ ส่วนการตรวจที่จำเพาะต่อโรคหัดเยอรมัน คือ การตรวจหาสารภูมิต้านทานชนิดเอ็ม ต่อเชื้อหัดเยอรมัน (IgM antibo dy) หรือตรวจหาสารภูมิต้านทานชนิด จี ต่อเชื้อหัดเยอรมัน (IgG antibody) โดยการตรวจ 2 ครั้ง ครั้งแรกตรวจในช่วงที่กำลังมีอาการ ครั้งที่ 2 ตรวจห่างจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ ซึ่งจะพบ ว่าค่าต่างกันมากกว่า 4 เท่าขึ้นไป
  • การวินิจฉัยทารกที่ผิดปกติและคลอดจากมารดาที่สงสัยว่าติดเชื้อหัดเยอรมัน วิธีที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ การแยกเชื้อไวรัสจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ โดยเก็บสิ่งส่งตรวจจากหลังโพรงจมูก จากปัสสาวะ หรือจากน้ำไขสันหลัง ของทารก วิธีอื่นๆได้แก่ การตรวจหาสารก่อภูมิต้านทานต่อเชื้อหัดเยอรมัน (Antigens) จากน้ำไขสันหลัง และ/หรือเลือด หรือตรวจหาสารภูมิต้านทานชนิดเอ็ม จากเลือด


การรักษาโรคหัดเยอรมัน

            แนวทางรักษาโรคหัดเยอรมัน คือ ไม่มีการรักษาที่จำเพาะต่อเชื้อหัดเยอรมัน การรักษาหลักคือ การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ การให้ยาลดอักเสบ แก้ปวดข้อ และ การให้ยาแก้คัน
  • สำหรับทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือสงสัยว่าติดเชื้อหัดเยอรมัน แพทย์จะตรวจหาความผิดปกติที่เป็นไปได้ต่างๆดังกล่าวข้างต้นตั้งแต่หลังคลอด และนัดตรวจเด็กเป็นระยะๆ เพราะอาการบางอย่างอาจปรากฏเมื่อเด็กอายุมากขึ้น และใช้การตรวจทางห้อง ปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย        
  •   ส่วนการรักษาก็จะรักษาตามความผิดปกติที่ปรากฏ เช่น ถ้าพบหัวใจพิการก็รักษาโดยการผ่าตัด เป็นต้อหินหรือต้อกระจกก็ผ่าตัดเช่นกัน และเมื่อพบภาวะตัวเหลืองก็ให้อาบแสงยูวี(แสงแดดที่นำมาใช้ทางการแพทย์) แต่ความผิดปกติบางอย่างอาจรัก ษาไม่ได้ เช่น การมีหินปูนในสมอง


ผลข้างเคียงและมีความรุนแรงของโรค

             โดยทั่วไป ผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากโรคหัดเยอรมันพบน้อยมาก และแทบไม่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนขึ้นมา อย่างไรก็ตา อาการแทรกซ้อนที่อาจพบได้ คือ
ข้อมือ ข้อนิ้วมือ และ/หรือ ข้อเข่าอักเสบ ซึ่งจะพบเฉพาะในผู้ใหญ่เพศหญิง อาการข้ออัก เสบเหล่านี้จะปรากฏพร้อมๆกับผื่น และจะมีอาการอยู่นานหลายสัปดาห์
อาการเลือดออกง่ายผิดปกติ พบ 1 ใน 3,000 รายของผู้ป่วยที่เป็นหัดเยอรมัน เกิดจากเกล็ดเลือดต่ำและเม็ดเลือดแดงอาจถูกทำลายร่วมด้วย ทั้งนี้ สามารถเกิดเลือดออกได้ในทุกอวัยวะ(ออกได้เองโดยไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น) และอาจเป็นอันตรายถ้าเลือดออกในสมองหรือดวงตา ภา วะเกล็ดเลือดต่ำนี้ อาจเป็นอยู่นานหลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน
สมองอักเสบ เกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ อัตราการเกิดภาวะนี้ในโรคหัดเยอรมันน้อยกว่าในโรคหัดประมาณ 5 เท่า อัตราการตายจากภาวะนี้ประมาณ 20-50%

ดูแลตนเองและป้องกันโรคหัดเยอรมัน 

             การดูแลตนเองและการป้องกันโรคหัดเยอรมันที่สำคัญ คือ
  • โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน (ปัจจุบันรัฐบาลให้บริการอยู่แล้วในทารกคลอดในโรงพยาบาล) โดยฉีดครั้งแรกตอนอายุ 9-15 เดือน ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี โดยให้ในรูปของวัคซีนรวม เอ็ม เอ็ม อาร์ ซึ่งป้องกันโรคหัดคางทูม และ หัดเยอรมัน (MMR : M=measles /มีเซิลส์/หัด, M=mumps/มัมส์/คางทูม และ R= rubella/รูเบลลา/หัดเยอรมัน)
  • ผู้หญิงที่จะแต่งงาน หรือตั้งใจจะมีลูก ถ้ายังไม่เคยฉีดวัคซีน ต้องฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์ อย่างน้อย 28 วัน เพื่อป้องกันโอกาสที่วัคซีนจะทำให้ทารกติดเชื้อได้ เพราะวัคซีนทำมาจากเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน (วัคซีนเชื้อเป็น ที่ทำให้อ่อนกำลังลง จนลดโอกาสติดเชื้อในคน แต่กระ ตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคได้) แม้ว่าในทางทฤษฎีโอกาสนี้เกิดได้น้อยมาก โดยให้ในรูปของวัคซีนรวมดังกล่าวเช่นกัน
  • ถ้ากำลังมีการระบาดของโรค สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้วและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ควรคุมกำเนิดไว้ก่อนจนพ้นการระบาดของโรค
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัดเยอรมันควรหยุดเรียน หยุดทำงาน พักผ่อนอยู่กับบ้านเป็นเวลาประมาณ 7 วันหลังจากมีผื่นขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น การพักผ่อนอยู่ในบ้านก็ควรแยกตัวเองด้วยเช่นกัน เช่น การนอน การรับประทานอาหาร และห้ามใช้ของส่วนตัวร่วมกัน
  • เด็กทารกที่คลอดออกมาและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิด ควรหลีกเลี่ยงการพาไปที่สาธารณะเป็นเวลา 1 ปี เช่น ไม่ควรฝากเด็กไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็ก ไม่ควรพาไปตลาด ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร หรือต้องแยกห้องถ้าต้องนอนในโรงพยาบาล เป็นต้น เพราะเด็กเหล่านี้ยังมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว สามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ (โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเซลล์เท่านั้น) เมื่อหลังจากอายุ 3 เดือนไปแล้ว และผลการตรวจไม่พบการติดเชื้อ จึงจะสามารถให้อยู่ร่วมกับคนทั่วไป หรือไม่ต้องแยกห้องถ้าต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาลได้
  • ผู้ที่เคยติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือได้รับการฉีดวัคซีนมาแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต แต่มีความเป็นไปได้ที่การได้รับเชื้ออีก จะทำให้ติดเชื้อได้ เพียงแต่จะไม่แสดงอาการ และเชื้อจะแบ่งตัวอยู่ที่ทางเดินหายใจส่วนบนเท่านั้น ไม่แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด 

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

                                

                               Shigella


ลักษณะของเชื้อ
                        
              Shigella เป็นชื่อสกุลของแบคทีเรียในวงศ์ Enterobacteriaceae เป็น แบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ (Gram negative bacteria) มีรูปร่างเป็นท่อน ไม่สร้างสปอร์ ไม่เคลื่อนไหว เป็นแบคทีเรียก่อโรค (pathogen) ที่ติดต่อผ่านทางอาหารทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ (infection) ทำให้เกิดโรคบิด หรือ Shigellosis 

ลักษณะของเชื้อ Shigella

                                                              ที่มา : mgr.myfirstbrain.com


ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ

  • Shigella เป็นแบคทีเรียในกลุ่ม facultative anaerobe คือเจริญได้ทั้งในภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน
  • water activity ต่ำสุดที่เจริญได้คือ 0.96
  • เจริญได้ที่อุณหภูมิระหว่าง 6.1- 47.1 องศาเซลเซียส
  • ค่า pH ที่เจริญได้ดีอยู่ระหว่าง 4.8-9.2


การก่อโรค

                        โรคบิดไม่มีตัว หรือ โรคบิดชิเกลลา (Shigellosis หรือ Shigella infection หรือ Bacilla ry dysentery) เป็นโรคที่ก่ออาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Enterobac teriaceae โดยเป็นแบคทีเรีย ชื่อ ชิเกลลา/Shigella (Shigella species ย่อว่า S.)แบคทีเรียชิเกลลา เป็นแบคทีเรียที่มักดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ง่าย และมีหลายสายพันธุ์ย่อย โดยสายพันธุ์ S. dysenteriae type 1 เป็นสายพันธุ์ที่ก่ออาการรุนแรงสูงสุด และก่อให้มีการระบาดของโรค ซึ่งเป็นสายพันธุ์พบบ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนา นอกจากนี้ในประเทศที่กำลังพัฒนา ยังพบสายพันธุ์ S. flexneri และ S. boydii ส่วนสายพันธุ์ที่พบบ่อยในประเทศที่เจริญแล้ว คือ S. sonnei ซึ่งเป็นสายพันธุ์มีความรุนแรงต่ำที่สุด




การติดต่อของโรค

                        โรคบิดชิเกลลา เป็นโรคติดต่อจากอาหาร น้ำดื่ม อุจจาระ-มือ-สู่ปาก ที่เรียกว่า ”Fecal-oral transmission” ที่พบได้ในทุกอายุ และพบได้ทั้งสองเพศในอัตราส่วนใกล้เคียงกัน โรคบิดชิเกลลา เป็นโรคท้องเสียที่มีความรุนแรงสูงและพบได้บ่อย โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาและที่อยู่ในเขตร้อน โดยมีรายงานการเกิดโรคนี้ทั่วโลกประมาณ 140 ล้านคนต่อปี ในการนี้จะเสียชีวิตประมาณ 6 แสนคน ซึ่ง 60% ของผู้เสียชีวิตจะเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดย 99% ของเด็กที่เสียชีวิต จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา
ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  •  เด็กวัย 2-4 ปี
  • เด็กอ่อนในถิ่นระบาดของโรคที่ไม่ได้กินนมแม่
  • การอยู่ในสถานที่แออัด เช่น สถานเลี้ยงเล็ก บ้านพักคนชรา ค่ายทหาร และในคุก
  • การขาดสุขอนามัย หรือผู้เดินทางในถิ่นที่ขาดสุขอนามัย หรือมีการระบาดของโรค
  • มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก


อาการของโรค

                  เชื้อบิดไม่มีตัว/บิดชิเกลลาจะก่ออาการหลังจากเข้าสู่ร่างกายแล้วประมาณ 1-4 วัน (ระยะฟักตัวของโรค) อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ติดเชื้อ และสามารถแพร่เชื้อได้ในช่วงยังไม่ก่ออาการ/ระยะฟักตัว
อาการของโรคบิดไม่มีตัวที่พบได้บ่อย คือ
  • ปวดท้องทันที ปวดท้องได้ในทุกตำแหน่งของช่องท้อง และมักมีอาการแบบปวดบิด ท้องเสีย อุจจาระเป็นมูกเลือด ปวดเบ่งเมื่อถ่ายอุจจาระ จึงมักเป็นสาเหตุให้เนื้อ เยื่อทวารหนักปลิ้นออกมาตามแรงเบ่ง (Rectal prolapse)
  • มีไข้สูงทันที อาจสูงได้ถึง 40 องศาเซลเซียส (Celsius) ดังนั้นเมื่อเกิดโรคในเด็กเล็ก จึงเป็นสาเหตุให้เด็กเกิดไข้ชักได้
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผอมลง/น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดอาหาร/ทุโภชนา
  • อนึ่ง อาการต่างๆมักกลับเป็นปกติหลังการรักษาแล้วประมาณ 10-14 วัน แต่มีผู้ป่วยประ มาณ 3% จะเกิดมีการสร้างสารภูมิต้านทานที่ต้านตนเอง ก่อให้เกิดมีอาการอื่นๆตามมาภาย หลังการติดเชื้อประมาณ 2-3 สัปดาห์ เรียกว่ากลุ่มอาการ“Reiter’s syndrome หรือ Reactive arthritis” กล่าวคือ มีอาการปวดข้อ ตาแดงจากการอักเสบของเยื่อตา (เยื่อตาอักเสบ) และของผนังลูกตาชั้นกลาง (Uvea) และมีการอักเสบของท่อปัสสาวะ ก่อให้เกิดการปวดแสบเมื่อปัสสาวะ ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดตามหลังการติดเชื้อชนิด S.flexneri                                



การวินิจฉัย

                แพทย์วินิจฉัยโรคบิดไม่มีตัว/บิดชิเกลลาได้จาก ประวัติอาการ ถิ่นที่อยู่อาศัย การตรวจร่างกาย การตรวจอุจจาระ การตรวจหาเชื้อชิเกลลาจากอุจจาระด้วยเทคนิคเฉพาะต่างๆ เช่น จากการเพาะเชื้อ, จากการตรวจสารภูมิต้านทานด้วยเทคนิคเรืองแสง, และ/หรือจากการตรวจด้วยเทคนิคที่เรียกว่า พีซีอาร์ (PCR, Polymerase chain reactor)

การรักษาของโรค

             แนวทางการรักษาโรคบิดไม่มีตัว/บิดชิเกลลา คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ และการรักษาประ คับประคองตามอาการ
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยา NorfloxacinOfloxacin, และ Ciprofloxacin
  • การรักษาประคับประคองฯ เช่น ยาลดไข้ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเมื่อมีภาวะขาดน้ำ เป็นต้น


ผลข้างเคียง/ภาวะแทรกซ้อน

                โรคบิดไม่มีตัว/บิดชิเกลลา เป็นโรครุนแรงและเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้จากการเกิดผลข้างเคียง/ภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ขึ้นกับ สายพันธุ์ของเชื้อบิด เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
ผลข้างเคียงจากโรคที่พบได้ คือ ภาวะขาดน้ำจากอาการท้องเสียไข้ชักจากไข้สูง, การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากพิษจากเชื้อชิเกลลาแผลผนังลำไส้ทะลุก่อการติดเชื้อในช่องท้อง (เยื่อบุช่องท้องอักแสบ)ภาวะลำไส้ใหญ่หยุดการบีบตัวจากพิษของเชื้อชิเกลลา ซึ่งอาจทำให้ลำไส้ใหญ่แตกทะลุได้ (Toxic megacolon), กลุ่มอาการ Reiter’s syndrome, และเนื้อ เยื่อทวารหนักปลิ้นออกนอกทวารหนักจากแรงเบ่งอุจจาระ

การป้องกันของโรค 

             ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคบิดไม่มีตัว/บิดชิเกลลา แต่กำลังมีการศึกษาที่คาดว่าน่า จะมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ  แต่จะป้องกันโรคได้เฉพาะจาก 3 สายพันธุ์ที่พบก่อโรคได้บ่อย คือ S.dysenteriae type 1, S. flexneri และ S. sonnei โดยมีการป้องกันดังนี้
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
  • รักษาความสะอาดของ อาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ โดยเฉพาะเมื่อท่องเที่ยวในถิ่นระบาดของโรค หรือสถานที่ที่ขาดสุขอนามัย
  • กินอาหารปรุงสุกทั่วถึงเสมอ
  • ผัก ผลไม้ สด ต้องล้างให้สะอาดก่อนบริโภค ระวังการกินน้ำแข็ง
  • รักษาความสะอาด เสื้อผ้า เครื่องใช้โดยเฉพาะในการปรุงอาหาร
  • ล้างมือบ่อยๆโดยเฉพาะก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ รวมทั้งการสอนเด็กๆให้รู้จักคุณค่าของการล้างมือและวิธีล้างมือ
  • เลี้ยงเด็กอ่อนด้วยนมแม่
  • เมื่อเด็กท้องเสีย ควรให้เด็กหยุดโรงเรียนจนกว่าจะหาย เพื่อควบคุมการแพร่เชื้อ
  • ทิ้งทิชชูที่ทำความสะอาดจากท้องเสีย ให้เป็นที่ทาง ถูกหลักอนามัย
  • เมื่อเราท้องเสีย ควรหยุด ไม่ควรทำครัว หรือปรุงอาหารให้ผู้อื่น
  • ใช้ส้วมเสมอเมื่อถ่ายอุจจาระ
  • ช่วยกันดูแลชุมชนที่อยู่อาศัยให้มีสุขอนามัย