Shigella
ลักษณะของเชื้อ
Shigella
เป็นชื่อสกุลของแบคทีเรียในวงศ์ Enterobacteriaceae เป็น แบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ (Gram negative bacteria) มีรูปร่างเป็นท่อน ไม่สร้างสปอร์ ไม่เคลื่อนไหว เป็นแบคทีเรียก่อโรค (pathogen) ที่ติดต่อผ่านทางอาหารทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ
(food poisoning) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ
(infection) ทำให้เกิดโรคบิด หรือ Shigellosis
ลักษณะของเชื้อ Shigella
ที่มา : mgr.myfirstbrain.com
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ
|
การก่อโรค
|
โรคบิดไม่มีตัว หรือ โรคบิดชิเกลลา (Shigellosis
หรือ Shigella infection หรือ Bacilla
ry dysentery) เป็นโรคที่ก่ออาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Enterobac
teriaceae โดยเป็นแบคทีเรีย ชื่อ ชิเกลลา/Shigella
(Shigella species ย่อว่า S.)แบคทีเรียชิเกลลา เป็นแบคทีเรียที่มักดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ง่าย
และมีหลายสายพันธุ์ย่อย โดยสายพันธุ์ S. dysenteriae type 1 เป็นสายพันธุ์ที่ก่ออาการรุนแรงสูงสุด
และก่อให้มีการระบาดของโรค ซึ่งเป็นสายพันธุ์พบบ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนา
นอกจากนี้ในประเทศที่กำลังพัฒนา ยังพบสายพันธุ์ S. flexneri และ
S. boydii ส่วนสายพันธุ์ที่พบบ่อยในประเทศที่เจริญแล้ว คือ S.
sonnei ซึ่งเป็นสายพันธุ์มีความรุนแรงต่ำที่สุด
การติดต่อของโรค
โรคบิดชิเกลลา เป็นโรคติดต่อจากอาหาร น้ำดื่ม อุจจาระ-มือ-สู่ปาก
ที่เรียกว่า ”Fecal-oral transmission” ที่พบได้ในทุกอายุ
และพบได้ทั้งสองเพศในอัตราส่วนใกล้เคียงกัน โรคบิดชิเกลลา เป็นโรคท้องเสียที่มีความรุนแรงสูงและพบได้บ่อย
โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาและที่อยู่ในเขตร้อน โดยมีรายงานการเกิดโรคนี้ทั่วโลกประมาณ 140 ล้านคนต่อปี ในการนี้จะเสียชีวิตประมาณ 6 แสนคน ซึ่ง 60% ของผู้เสียชีวิตจะเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดย 99% ของเด็กที่เสียชีวิต จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา
ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- เด็กวัย 2-4 ปี
- เด็กอ่อนในถิ่นระบาดของโรคที่ไม่ได้กินนมแม่
- การอยู่ในสถานที่แออัด เช่น สถานเลี้ยงเล็ก บ้านพักคนชรา ค่ายทหาร และในคุก
- การขาดสุขอนามัย หรือผู้เดินทางในถิ่นที่ขาดสุขอนามัย หรือมีการระบาดของโรค
- มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
อาการของโรค
เชื้อบิดไม่มีตัว/บิดชิเกลลาจะก่ออาการหลังจากเข้าสู่ร่างกายแล้วประมาณ
1-4
วัน (ระยะฟักตัวของโรค) อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ติดเชื้อ และสามารถแพร่เชื้อได้ในช่วงยังไม่ก่ออาการ/ระยะฟักตัว
อาการของโรคบิดไม่มีตัวที่พบได้บ่อย
คือ
- ปวดท้องทันที ปวดท้องได้ในทุกตำแหน่งของช่องท้อง และมักมีอาการแบบปวดบิด ท้องเสีย อุจจาระเป็นมูกเลือด ปวดเบ่งเมื่อถ่ายอุจจาระ จึงมักเป็นสาเหตุให้เนื้อ เยื่อทวารหนักปลิ้นออกมาตามแรงเบ่ง (Rectal prolapse)
- มีไข้สูงทันที อาจสูงได้ถึง 40 องศาเซลเซียส (Celsius) ดังนั้นเมื่อเกิดโรคในเด็กเล็ก จึงเป็นสาเหตุให้เด็กเกิดไข้ชักได้
- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผอมลง/น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะขาดอาหาร/ทุโภชนา
- อนึ่ง อาการต่างๆมักกลับเป็นปกติหลังการรักษาแล้วประมาณ
10-14 วัน แต่มีผู้ป่วยประ มาณ 3% จะเกิดมีการสร้างสารภูมิต้านทานที่ต้านตนเอง
ก่อให้เกิดมีอาการอื่นๆตามมาภาย หลังการติดเชื้อประมาณ 2-3 สัปดาห์ เรียกว่ากลุ่มอาการ“Reiter’s syndrome หรือ
Reactive arthritis” กล่าวคือ มีอาการปวดข้อ ตาแดงจากการอักเสบของเยื่อตา (เยื่อตาอักเสบ) และของผนังลูกตาชั้นกลาง (Uvea)
และมีการอักเสบของท่อปัสสาวะ ก่อให้เกิดการปวดแสบเมื่อปัสสาวะ
ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดตามหลังการติดเชื้อชนิด S.flexneri
การวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัยโรคบิดไม่มีตัว/บิดชิเกลลาได้จาก
ประวัติอาการ ถิ่นที่อยู่อาศัย การตรวจร่างกาย การตรวจอุจจาระ การตรวจหาเชื้อชิเกลลาจากอุจจาระด้วยเทคนิคเฉพาะต่างๆ
เช่น จากการเพาะเชื้อ, จากการตรวจสารภูมิต้านทานด้วยเทคนิคเรืองแสง,
และ/หรือจากการตรวจด้วยเทคนิคที่เรียกว่า พีซีอาร์ (PCR,
Polymerase chain reactor)
การรักษาของโรค
แนวทางการรักษาโรคบิดไม่มีตัว/บิดชิเกลลา คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ และการรักษาประ คับประคองตามอาการ
- การใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยา Norfloxacin, Ofloxacin, และ Ciprofloxacin
- การรักษาประคับประคองฯ เช่น ยาลดไข้ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเมื่อมีภาวะขาดน้ำ เป็นต้น
ผลข้างเคียง/ภาวะแทรกซ้อน
โรคบิดไม่มีตัว/บิดชิเกลลา
เป็นโรครุนแรงและเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้จากการเกิดผลข้างเคียง/ภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ขึ้นกับ
สายพันธุ์ของเชื้อบิด เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
ผลข้างเคียงจากโรคที่พบได้ คือ ภาวะขาดน้ำจากอาการท้องเสีย, ไข้ชักจากไข้สูง, การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากพิษจากเชื้อชิเกลลา, แผลผนังลำไส้ทะลุก่อการติดเชื้อในช่องท้อง (เยื่อบุช่องท้องอักแสบ), ภาวะลำไส้ใหญ่หยุดการบีบตัวจากพิษของเชื้อชิเกลลา
ซึ่งอาจทำให้ลำไส้ใหญ่แตกทะลุได้ (Toxic
megacolon), กลุ่มอาการ Reiter’s syndrome, และเนื้อ เยื่อทวารหนักปลิ้นออกนอกทวารหนักจากแรงเบ่งอุจจาระ
การป้องกันของโรค
ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคบิดไม่มีตัว/บิดชิเกลลา แต่กำลังมีการศึกษาที่คาดว่าน่า จะมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ แต่จะป้องกันโรคได้เฉพาะจาก 3 สายพันธุ์ที่พบก่อโรคได้บ่อย คือ S.dysenteriae type 1, S. flexneri และ S. sonnei โดยมีการป้องกันดังนี้
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
- รักษาความสะอาดของ อาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ โดยเฉพาะเมื่อท่องเที่ยวในถิ่นระบาดของโรค หรือสถานที่ที่ขาดสุขอนามัย
- กินอาหารปรุงสุกทั่วถึงเสมอ
- ผัก ผลไม้ สด ต้องล้างให้สะอาดก่อนบริโภค ระวังการกินน้ำแข็ง
- รักษาความสะอาด เสื้อผ้า เครื่องใช้โดยเฉพาะในการปรุงอาหาร
- ล้างมือบ่อยๆโดยเฉพาะก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ รวมทั้งการสอนเด็กๆให้รู้จักคุณค่าของการล้างมือและวิธีล้างมือ
- เลี้ยงเด็กอ่อนด้วยนมแม่
- เมื่อเด็กท้องเสีย ควรให้เด็กหยุดโรงเรียนจนกว่าจะหาย เพื่อควบคุมการแพร่เชื้อ
- ทิ้งทิชชูที่ทำความสะอาดจากท้องเสีย ให้เป็นที่ทาง ถูกหลักอนามัย
- เมื่อเราท้องเสีย ควรหยุด ไม่ควรทำครัว หรือปรุงอาหารให้ผู้อื่น
- ใช้ส้วมเสมอเมื่อถ่ายอุจจาระ
- ช่วยกันดูแลชุมชนที่อยู่อาศัยให้มีสุขอนามัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น