Rubella virus
ลักษณะของเชื้อ
ลักษณะของเชื้อ
Rubella
virus จัดอยู่ใน Genus Rubula virus Family Togaviridae รูปร่าง spherical หรือ pleomorphic ขนาด 60-70 nm ประกอบด้วยกรด ribonucleic
(RNA สายเดี่ยว) ล้อมรอบด้วย envelope โรคหัดเยอรมันหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคเหือดเกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ
Rubella virus มีระยะฟักตัวของโรค 12-28 วัน (เฉลี่ย 2 สัปดาห์)
ลักษณะของเชื้อ Rubella
virus
ที่มา: www.sciencepicture.co
การก่อโรค
โรคหัดเยอรมัน
(German
measles) หรือ รูเบลลา (Rubella) เป็นโรคไข้ออกผื่น
ที่พบทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ เนื่องจากแพทย์ชาวเยอรมันเป็นผู้ที่ให้คำอธิบายว่า
โรคนี้เป็นโรคใหม่ที่ต่างจากหัด จึงเรียกโรคนี้ว่าหัดเยอรมัน เกิดจากการติด
เชื้อรูบิไวรัส (Rubi virus) หรือ รูเบลลาไวรัส (Rubella
virus) ซึ่งอยู่ในตระกูล โทกาวิริดี (Togaviridae) โรคนี้เป็นแล้วมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต เป็นโรคติดเชื้อที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
ถ้ามีอาการจะมีไข้และออกผื่นคล้ายหัด แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าหัดและมักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อน
แต่ถ้าเกิดการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ เชื้ออาจแพร่กระจายไปสู่ทารกในครรภ์
ทำให้เกิดการพิการได้
อาการของโรคหัดเยอรมัน
การติดเชื้อในเด็กตั้งแต่หลังคลอดเป็นต้นไปและในผู้ใหญ่
ประมาณ 50% ของผู้ที่ติดเชื้อหัดเยอรมันจะไม่มีอาการส่วนผู้ที่มีอาการก็จะแบ่งเป็นระยะเช่นเดียวกับหัด
คือระยะก่อนออกผื่นและระยะออกผื่น มีระยะฟักตัวนับตั้งแต่ติดเชื้อจนเกิดอาการประมาณ 12-23
วัน
- ระยะก่อนออกผื่น จะมีอาการไข้ต่ำๆถึงปานกลาง (ไม่เกิน 38.5?C/เซลเซียส) อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีอาการปวดกระบอกตาโดยเฉพาะเวลากรอกตาไปด้านข้างและด้านบน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีต่อมน้ำเหลืองหลังใบหู บริเวณคอ หรือท้ายทอยมีขนาดโตคลำได้และเจ็บ อาการจะเป็นอยู่ประมาณ 1-5 วัน ในเด็กอาจจะไม่มีอาการในระยะนี้ ในขณะที่ผู้ใหญ่จะแสดงอาการมากกว่า นอกจากนี้ถ้าสังเกตให้ดีจะพบจุดเลือดออกเล็กๆบริเวณเพดานอ่อนในปาก เรียกว่า ฟอร์ไชเมอร์ สปอท (Forcheimer spots) พบได้ประมาณ 20% ของผู้ป่วย เมื่อผื่นขึ้นแล้ว อาจจะยังเห็นจุดเลือดออกเหล่านี้ได้ แต่อาการแสดงนี้ไม่จำเพาะเจาะจงกับโรคหัดเยอร มัน สามารถเจอในโรคอื่นได้ เช่น ในโรคหัด หรือไข้ออกผื่นอื่นๆ
- ระยะออกผื่น ผื่นลักษณะเป็นตุ่มนูน หรือแบนเล็กๆ ขนาด 1-4 มิลลิเมตร (มม.) สีชมพูอ่อน ผื่นมักจะแยกกันอยู่ชัดเจนไม่มีการรวมกลุ่มกันแบบโรคหัด โดยผื่นจะเริ่มที่หน้าผากชายผม รอบปาก และใบหูก่อนที่อื่น แล้วลงมาที่ลำคอ ลำตัว แขนขา จนทั่วตัวภายใน 1 วัน อาจมีอา การคัน ผื่นจะเริ่มจางโดยเริ่มจากหน้าก่อนเช่นกัน และจะหายไปจนหมดส่วนใหญ่ภายใน 3 วัน (บางครั้งจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคหัด 3 วัน) โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น ระหว่างที่เป็นผื่นอาจมีอาการตาแดงน้ำมูกไหลร่วมด้วยได้
- การติดเชื้อของทารกในครรภ์จากมารดา มารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว สามารถแพร่เข้าสู่ทารกโดยผ่านทางรก และทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อ เกิดความพิการตามมา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 3 อย่าง ดังนี้คือ
-หูหนวก พบได้ประมาณ 58%
อาจเกิดกับหูข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง บางครั้งอาการอาจปรา กฏช้า โดยอาจเริ่มแสดงอาการตอนอายุ 2 ขวบ หรือนานกว่านี้ก็ได้
-เป็นต้อกระจก พบได้ประมาณ 43%
มักเป็นทั้งสองตา (80%) หรืออาจพบจอตามีเม็ดสีผิด ปกติ จึงเกิดความผิดปกติในการเห็นภาพได้
-มีความพิการของหัวใจ พบได้ประมาณ 50%
ความผิดปกติที่พบบ่อยของหัวใจ คือ
มีการเชื่อมต่อของเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจกับเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไปปอด (ปกติเส้นเลือดทั้งสองต้องแยกจากกั้น) ความผิดปกติอื่นๆได้แก่
มีการตีบของเส้นเลือดแดงใหญ่ของปอด และ/หรือ การรั่วของผนังกั้นห้องหัวใจห้องบนหรือห้องล่าง
-ส่วนความผิดปกติอื่นๆที่อาจพบได้ ได้แก่ ทารกในครรภ์โตช้า อาจแท้งหรือคลอดก่อนกำ หนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (เลือดออกง่าย) โลหิตจาง มี ตับ ม้ามโต มีภาวะตัวเหลืองตาเหลือง ปอดบวม เป็นต้อหินแต่กำเนิด มีหินปูนในสมอง ปัญญาอ่อน
มีพฤติกรรมผิดปกติ ผิวหนังเป็นลายออกสีน้ำเงิน เป็นเบาหวานเมื่อเป็นผู้ใหญ่ (อายุ 20-30
ปี)
อาการแสดงของโรค
ที่มา: th.wikipedia.org
การวินิจฉัยโรคหัดเยอรมัน
แพทย์วินิจฉัยโรคหัดเยอรมันได้จาก
- การวินิจฉัยในผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่อาศัยจากอาการของผู้ป่วย และการตรวจร่างกาย เป็นหลัก
- การตรวจเลือดซีบีซี จะพบภาวะเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ ส่วนการตรวจที่จำเพาะต่อโรคหัดเยอรมัน คือ การตรวจหาสารภูมิต้านทานชนิดเอ็ม ต่อเชื้อหัดเยอรมัน (IgM antibo dy) หรือตรวจหาสารภูมิต้านทานชนิด จี ต่อเชื้อหัดเยอรมัน (IgG antibody) โดยการตรวจ 2 ครั้ง ครั้งแรกตรวจในช่วงที่กำลังมีอาการ ครั้งที่ 2 ตรวจห่างจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ ซึ่งจะพบ ว่าค่าต่างกันมากกว่า 4 เท่าขึ้นไป
- การวินิจฉัยทารกที่ผิดปกติและคลอดจากมารดาที่สงสัยว่าติดเชื้อหัดเยอรมัน วิธีที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ การแยกเชื้อไวรัสจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ โดยเก็บสิ่งส่งตรวจจากหลังโพรงจมูก จากปัสสาวะ หรือจากน้ำไขสันหลัง ของทารก วิธีอื่นๆได้แก่ การตรวจหาสารก่อภูมิต้านทานต่อเชื้อหัดเยอรมัน (Antigens) จากน้ำไขสันหลัง และ/หรือเลือด หรือตรวจหาสารภูมิต้านทานชนิดเอ็ม จากเลือด
การรักษาโรคหัดเยอรมัน
แนวทางรักษาโรคหัดเยอรมัน คือ ไม่มีการรักษาที่จำเพาะต่อเชื้อหัดเยอรมัน การรักษาหลักคือ การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ การให้ยาลดอักเสบ แก้ปวดข้อ และ การให้ยาแก้คัน
- สำหรับทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือสงสัยว่าติดเชื้อหัดเยอรมัน แพทย์จะตรวจหาความผิดปกติที่เป็นไปได้ต่างๆดังกล่าวข้างต้นตั้งแต่หลังคลอด และนัดตรวจเด็กเป็นระยะๆ เพราะอาการบางอย่างอาจปรากฏเมื่อเด็กอายุมากขึ้น และใช้การตรวจทางห้อง ปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
- ส่วนการรักษาก็จะรักษาตามความผิดปกติที่ปรากฏ เช่น ถ้าพบหัวใจพิการก็รักษาโดยการผ่าตัด เป็นต้อหินหรือต้อกระจกก็ผ่าตัดเช่นกัน และเมื่อพบภาวะตัวเหลืองก็ให้อาบแสงยูวี(แสงแดดที่นำมาใช้ทางการแพทย์) แต่ความผิดปกติบางอย่างอาจรัก ษาไม่ได้ เช่น การมีหินปูนในสมอง
ผลข้างเคียงและมีความรุนแรงของโรค
โดยทั่วไป ผลข้างเคียงแทรกซ้อนจากโรคหัดเยอรมันพบน้อยมาก
และแทบไม่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนขึ้นมา อย่างไรก็ตาม อาการแทรกซ้อนที่อาจพบได้ คือ
ข้อมือ ข้อนิ้วมือ และ/หรือ ข้อเข่าอักเสบ ซึ่งจะพบเฉพาะในผู้ใหญ่เพศหญิง อาการข้ออัก
เสบเหล่านี้จะปรากฏพร้อมๆกับผื่น และจะมีอาการอยู่นานหลายสัปดาห์
อาการเลือดออกง่ายผิดปกติ พบ 1 ใน 3,000 รายของผู้ป่วยที่เป็นหัดเยอรมัน เกิดจากเกล็ดเลือดต่ำและเม็ดเลือดแดงอาจถูกทำลายร่วมด้วย
ทั้งนี้ สามารถเกิดเลือดออกได้ในทุกอวัยวะ(ออกได้เองโดยไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น)
และอาจเป็นอันตรายถ้าเลือดออกในสมองหรือดวงตา ภา วะเกล็ดเลือดต่ำนี้
อาจเป็นอยู่นานหลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน
สมองอักเสบ เกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ อัตราการเกิดภาวะนี้ในโรคหัดเยอรมันน้อยกว่าในโรคหัดประมาณ 5 เท่า อัตราการตายจากภาวะนี้ประมาณ 20-50%
ดูแลตนเองและป้องกันโรคหัดเยอรมัน
การดูแลตนเองและการป้องกันโรคหัดเยอรมันที่สำคัญ คือ
- โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน (ปัจจุบันรัฐบาลให้บริการอยู่แล้วในทารกคลอดในโรงพยาบาล) โดยฉีดครั้งแรกตอนอายุ 9-15 เดือน ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี โดยให้ในรูปของวัคซีนรวม เอ็ม เอ็ม อาร์ ซึ่งป้องกันโรคหัดคางทูม และ หัดเยอรมัน (MMR : M=measles /มีเซิลส์/หัด, M=mumps/มัมส์/คางทูม และ R= rubella/รูเบลลา/หัดเยอรมัน)
- ผู้หญิงที่จะแต่งงาน หรือตั้งใจจะมีลูก ถ้ายังไม่เคยฉีดวัคซีน ต้องฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์ อย่างน้อย 28 วัน เพื่อป้องกันโอกาสที่วัคซีนจะทำให้ทารกติดเชื้อได้ เพราะวัคซีนทำมาจากเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน (วัคซีนเชื้อเป็น ที่ทำให้อ่อนกำลังลง จนลดโอกาสติดเชื้อในคน แต่กระ ตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคได้) แม้ว่าในทางทฤษฎีโอกาสนี้เกิดได้น้อยมาก โดยให้ในรูปของวัคซีนรวมดังกล่าวเช่นกัน
- ถ้ากำลังมีการระบาดของโรค สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้วและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ควรคุมกำเนิดไว้ก่อนจนพ้นการระบาดของโรค
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัดเยอรมันควรหยุดเรียน หยุดทำงาน พักผ่อนอยู่กับบ้านเป็นเวลาประมาณ 7 วันหลังจากมีผื่นขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น การพักผ่อนอยู่ในบ้านก็ควรแยกตัวเองด้วยเช่นกัน เช่น การนอน การรับประทานอาหาร และห้ามใช้ของส่วนตัวร่วมกัน
- เด็กทารกที่คลอดออกมาและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิด ควรหลีกเลี่ยงการพาไปที่สาธารณะเป็นเวลา 1 ปี เช่น ไม่ควรฝากเด็กไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็ก ไม่ควรพาไปตลาด ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร หรือต้องแยกห้องถ้าต้องนอนในโรงพยาบาล เป็นต้น เพราะเด็กเหล่านี้ยังมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว สามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ (โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเซลล์เท่านั้น) เมื่อหลังจากอายุ 3 เดือนไปแล้ว และผลการตรวจไม่พบการติดเชื้อ จึงจะสามารถให้อยู่ร่วมกับคนทั่วไป หรือไม่ต้องแยกห้องถ้าต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาลได้
- ผู้ที่เคยติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือได้รับการฉีดวัคซีนมาแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต แต่มีความเป็นไปได้ที่การได้รับเชื้ออีก จะทำให้ติดเชื้อได้ เพียงแต่จะไม่แสดงอาการ และเชื้อจะแบ่งตัวอยู่ที่ทางเดินหายใจส่วนบนเท่านั้น ไม่แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น