วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โรคที่เกิดจากพยาธิไส้เดือน


                      โรคที่เกิดจากพยาธิไส้เดือน (Ascariasis)

                โรคพยาธิไส้เดือน สามารถพบได้ทุกแห่งในโลก พบได้บ่อยในประเทศเขตร้อนที่มีอากาศ และพื้นดินชุ่มขึ้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพยาธิชนิดนี้ เป็นกันมากในหมู่ประชาชนที่ยากจนและขาดความรู้ในด้านสุขวิทยาส่วนบุคคลอยู่ในแหล่งที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี เช่น ไม่มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ขอบถ่ายอุจจาระลงบนพื้นดินในบริเวณใกล้เคียงบ้านเรือน เมื่อเด็กเล่นบนพื้นดิน จึงมีโอกาสที่จะได้รับไข่พยาธิเข้าร่างกายซึ่งมักเป็นมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กวัยเรียนและ วัยก่อนเรียน
ตัวแก่พยาธิไส้เดือน

ลักษณะทั่วไปของเชื้อ

                เชื้อที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่หนอนพยาธิชนิด แอสคาริส ลุมบริคอยดีส (Ascaris lumbricoides) มีรูปร่างคล้ายไส้เดือนดิน ตัวโตหัวและหางเรียวกลม สีขาวนวลหรือชมพูเรื่อๆ เป็นพยาธิตัวกลมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในลำไส้ใหญ่กว่าพยาธิตัวกลมชนิดอื่น ตัวผู้ยาว 15- 20 ซม.กว้าง 2-4 มม. ตัวเมียยาว 20-35 ซม. กว้าง 1-6 มม. ตัวผู้มักหางงอเล็กน้อย ตัวเมียหางไม่งอ มักอาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก ตัวเมียสามารถออกไข่ได้ประมาณ 200,000 ฟองต่อหนึ่งวัน ดังนั้นแม้จะมีอยู่ในร่างกายไม่กี่ตัวแต่ก็สามารถไข่ปนออกมากับอุจจาระได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งไข่ของพยาธิชนิดนี้ทนต่อสภาพแวดส้อมต่างๆภายนอกได้ดี ไข่อาจอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็น ปี ๆ ถือเป็นโรคพยาธิเรื้อรังที่อาศัยอยู่ในลำไส้



ตัวแก่พยาธิไส้เดือน
ที่มา : www.cai.md.chula.ac.th



แหล่งของโรค 

              ได้แก่มนุษย์หรือผู้ที่มีพยาธิไส้เดือนอาศัยอยู่ในร่างกายซึ่งส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว จนกว่าจะปรากฏอาการเกิดอันตรายของโรค หรือตรวจพบโดยแพทย์

วงจรชีวิตของพยาธิไส้เดือน 

               เมื่อไข่พยาธิไส้เดือนเข้าสู่ร่างกาย จะถูกน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ เล็กย่อยเปลือกหุ้ม ทำให้ตัวอ่อน (larvae) ออกจากไข่ ไชทะลุผนังลำไส้เล็กเข้าสู่วงจรเลือด หรือเข้าสู่หลอดโลหิตดำและหลอดน้ำเหลือง ส่วนมากจะถูกพาเข้าหลอดโลหิตดำเข้าสู่หัวใจข้างขวา ตับ และเข้าสู่ปอด จากนั้นจึงไชทะลุถุงลมคลานขึ้นมาตามหลอดลมแล้วถูกกลืนลงสู่หลอดอาหารกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ไปเจริญเป็นตัวแก่ ต่อจากนั้นจึงผสมพันธุ์และออกไข่ปนออกมากับอุจจาระ เป็นวัฏจักร






การติดต่อ 

                ตัวแก่ของพยาธิชนิดนี้อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กโดยไม่เกาะอยู่กับผนังของลำไส้ แต่จะเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมากับอุจจาระเมื่อตกลงสู่พื้นดิน ได้รับความชื้นและอุณหภูมิเหมาะ ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ในไข่และกลายเป็นระยะติดต่อใน 10-14วัน หรือนับจากไข่ของพยาธิเข้าสู่ร่างกายจนกลายเป็นตัวแก่สามารถออกไข่ได้ ประมาณ 1-2 เดือน ครึ่ง

ระยะติดต่อ 

               ตลอดเวลาที่ผู้ป่วยมีพยาธิที่สามารถผสมพันธุ์และออกไข่ได้อยู่ในร่างกาย ปกติพยาธิไส้เดือนตัวแก่จะมีชีวิตประมาณ 6 เดือน หากมีการติดพยาธิเข้าไปใหม่ จะทำให้มีพยาธิอยู่ในลำไส้ได้นาน

อาการ 

                อันตรายของผู้ป่วยหรือผู้ที่มีพยาธิไส้เดือนกลมอยู่ในร่างกายอาจไม่แสดงเด่นชัด แต่พยาธิจะแย่งอาหารจากร่างกาย โดยกินอาหารที่ย่อยแล้วที่ผนังลำไส้ เป็นสาเหตุให้ร่างกายขาดสารอาหารหรือได้รับอาหารไม่เพียงพอ เจริญเติบโตช้าโดยเฉพาะในเด็กทำให้อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ง่วงเหงาหาวนอน ไม่สนใจการเรียน เกิดการผิดปกติในร่างกาย เช่น อาเจียน ไอ เรื้อรัง หรืออาจเป็นมากถึงขั้นผอมพุงโร บางคนท้องเสียบ่อยๆ ทำให้เกิดลมพิษเนื่องจากของเสียที่พยาธิขับถ่ายออกมา หากมีอาการปวดท้องจะปวดเป็นพัก ๆ บางรายอาจอาเจียนเอาตัวพยาธิออกมา และอาจเกิดการอักเสบตามอวัยวะต่าง ๆที่พยาธิไชเข้าไปหากมีพยาธิอุดตันที่ลำไส้ เนื่องจากพยาธิไส้เดือนเกาะพันกันเป็นก้อน จะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน มีอาการดีซ่านเนื่องจากพยาธิเข้าไปอุดตันในท่อน้ำดี ควรรีบนำส่ง แพทย์โดยด่วน

การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค 

                 สามารถตรวจพบไข่และตัวแก่พยาธิได้จาก อุจจาระและอาเจียนของผู้ป่วย มีอาการอึดอัดในท้อง ปวดท้อง มีไข้ ปอดอักเสบ ไอเป็นโลหิต เป็นลมพิษ

การรักษาและควบคุมป้องกันโรค

                 ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะใช้ ให้ประชาชนรู้จักสุขลักษณะที่ดี โดยเฉพาะเด็กๆ ควรสอนให้ปฏิบัติสุขวิทยาส่วนบุคคล เช่น ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากถ่ายอุจจาระสำหรับผู้ที่เป็นโรคพยาธิควรกินยาถ่ายพยาธิ เพื่อจะได้ไม่แพร่เชื้อติดต่อไปสู่ผู้อื่น

ยาที่ใช้รักษาโรคพยาธิไส้เดือนตัวกลม

  1. ปีเปอราซีน (Piperazine) ดูวิธีใช้จากสลาก หรือ ดูเพิ่มเติมในเรื่องพยาธิเส้นด้าย
  2. เมเบนดาโซล (Mebendazole) ขนาด 100 มก. (1เม็ด) เช้าและเย็น รับประทาน 2 ครั้ง
  3. ไพราเทล พาโมเอท  คอมบันตริน Pyrantel pamoate (Combantrin) ขนาด 10 มก. /นน. ตัว 1 กก. รับประทานครั้งเดียว
  4. ฟูกาคาร์ (Fugacar) วิธีใช้ดูตามฉลาก
  5. ยาสมุนไพรพื้นบ้าน  ใช้เม็ดสะแกนา ประมาณ 10 เม็ด ตำทอดกับไข่ให้เด็กกิน สำหรับผู้ป่วยที่มีลำไส้อุดตันเนื่องจากพยาธิ ให้รักษาตามอาการ เช่น ใส่สายสวนดูดลมออก หรือให้การรักษาโดยวิธีศัลยกรรมโดยแพทย์ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น