วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

โรคกลัวที่โล่ง(Agoraphobia)


โรคกลัวที่โล่ง(Agoraphobia)

      จัดอยุ่ในกลุ่ม โรควิตกกังวลชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากความกลัวที่จะเกิดอาการตื่นตระหนก (panic attack) ในสถานที่ที่หนีออกไปลำบาก  หรือไม่มีคนช่วยเหลือ

สาเหตุของการเกิดโรค

                 อาการกลัวที่โล่งยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด คาดว่าอาการกลัวที่โล่งเกี่ยวข้องกับอาการวิตกกังวลอื่นๆสภาพแวดล้อมที่เคร่งเครียดและการใช้สารเสพติด อาการนี้พบมากในเพศหญิง  การใช้ยากดประสาทและยานอนหลับ เช่น เบนโซไดอะซีพีน (benzodiazepines) อย่างต่อเนื่อง จัดเป็นเหตุให้เกิดอาการกลัวที่โล่งเพราะการหยุดใช้ยาและการรักษาอาการติดยาดังกล่าว ทำให้อาการกลัวที่โล่งทุเลาลง งานวิจัยยังได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างอาการกลัวที่โล่งและความลำบากในการรับรู้เชิงสถานที่ (spatial orientation)  คนปกติสามารถรักษาสมดุลของข้อมูลรวมจากระบบการรักษาสมดุล (vestibular system) ระบบการรับภาพ (visual system) และการรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) แต่ในผู้ที่มีอาการกลัวที่โล่งจะพึ่งพาระบบการรับภาพและการรับรู้อากัปกิริยามากขึ้นเพราะระบบการรักษาสมดุลทำหน้าที่ลดลง ทำให้เสียการรับรู้ได้ง่ายเมื่อการมองเห็นกระจัดกระจาย เช่น ในที่โล่งแจ้งหรือท่ามกลางฝูงชน และอาจจะมีอาการสับสนเมื่อประสบกับความลาดเอียงหรือพื้นผิวที่ไม่สม่ำเสมอเช่นเดียวกัน ในการศึกษาความจริงเสมือน (virtual reality) ผู้กลัวที่โล่งโดยเฉลี่ยสามารถจัดการข้อมูลภาพและเสียงที่เปลี่ยนไปได้แย่กว่ากลุ่มควบคุม

อาการ

             วิตกกังวลนี้มักจะประกอบด้วยความกลัวการขายหน้าต่อประชุมชน เพราะอาการกลัวที่โล่งเป็นอาการนำของอาการตื่นตระหนกที่ทำให้ผู้ป่วยคลุ้มคลั่งต่อหน้าผู้อื่น ผู้ที่มีอาการกลัวที่โล่งจะมีอาการตื่นตระหนกในสถานการณ์ที่ตนเองอึดอัด รู้สึกไม่ปลอดภัย ควบคุมไม่ได้ หรือห่างไกลจากสิ่งที่สามารถช่วยเหลือเขาได้ ในรายที่มีอาการมากจะอยู่แต่กับบ้านไม่ออกไปไหนเป็นปีๆ ผู้มีอาการจำนวนมากชอบที่จะมีผู้มาเยี่ยมอยู่ในบริเวณที่พวกเขาควบคุมได้และ ชอบที่จะทำงานในที่ๆรู้สึกว่าปลอดภัย ถ้าผู้กลัวที่โล่งออกไปจากเขตปลอดภัยของตน อาจจะเกิดอาการตื่นตระหนกได้ ความชุกของอาการกลัวที่โล่งในสหรัฐอเมริกาคือประมาณร้อยละ 5 ต่อปี

วิธีการรักษา

         คือการทำจิตบำบัดแบบประคับประคองโดยให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความกังวล ความคับข้องใจ ความรู้สึกอับอาย โดยไม่ถูกตำหนิ อาจมีการชี้แนะให้ผู้ป่วยได้เห็นมุมมองอื่นที่ต่างไปจากที่ผู้ป่วยคิดเองคนเดียว ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยมีการปรับตัวที่ดีขึ้น สามารถทำได้โดยให้ผู้ป่วยเข้าไปเผชิญกับสิ่งที่ตนกลัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (graded exposure) จนผู้ป่วยเกิดความชินชากับสิ่งนั้นเช่นในผู้ป่วยที่กลัวความสูงเราอาจให้ผู้ป่วยขึ้นไปนั่งริมระเบียงชั้น 2 วันละ 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเกิดอาการกลัว เมื่อเริ่มไปนั่งแต่อาจจะกลัวไม่มากนักเพราะอยู่แค่ชั้น 2 ความกลัวจะค่อยๆลดลงเมื่อเวลาผ่านไป และแทบจะไม่กลัวเลยเมื่อหมดเวลา 1 ชั่วโมง วันต่อมาให้ทำแบบเดิมอีกผู้ป่วยก็จะกลัวอีกเมื่อเริ่มออกมานั่งแต่จะกลัวน้อยกว่าและจะหายเร็วกว่าเมื่อวาน ทำทุกวันจนผู้ป่วยหายกลัวความสูงระดับชั้น 2 ก็ให้ขึ้นไปทำแบบเดียวกันกับชั้น 3 และเลื่อนชั้นไปเรื่อยๆจนถึงระดับที่ผู้ป่วยพอใจ
ชื่อยา  ในรายที่เป็น social phobia, generalized type (กลัวหลายๆสถานการณ์) ที่ไม่สามารถทำการรักษาแบบที่กล่าวมาเราอาจรักษาด้วยยาSSRIs (sepecific-serotonin reuptake inhibitors ) ในรายที่เป็น social phobia, performance type (กลัวเฉพาะการต้องทำอะไรต่อหน้าคนอื่น) เราอาจรักษาด้วยยา betablocker ได้

อ้างอิง:
เมวิการ์ เกตุนอก. (2557).โรคกลัวที่โล่ง Agoraphobia.สืบค้นเมื่อ 04  เมษายน 2559  .
           http://www.suriyothai.ac.th/node/2171

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น