โรคจิตเภท(Schizophrenia)
สาเหตุ
1. ปัจจัยทางด้านชีวภาพ แนวคิดปัจจุบันมองว่าโรคจิตเภทเป็น brain
disorder โดยมีการพบหลักฐานทางชีวภาพในด้านต่างๆ
มากขึ้นเรื่อยๆ
1.1พันธุกรรมจากการศึกษาพบว่าญาติของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคจิตเภทสูงกว่าประชากรทั่วไปยิ่งมีความใกล้ชิดทางสายเลือดมากยิ่งมีโอกาสเป็นสูง
ยีนที่ผิดปกติชัดเจน เชื่อว่าโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของยีนหลายแห่งรวมกัน
1.2ระบบสารชีวเคมีในสมองสมมุติฐานเดิมที่ยังคงเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันคือ
สมมุติฐานโดปามีน (dopamine
hypothesis) เชื่อว่าโรคนี้เกิดจาก dopaminergic
hyparactivity โดยเฉพาะในบริเวณmesolimbic และ mesocortical tract ทั้งนี้อาจเป็นความผิดปกติของ post-synaptic
receptor เนื่องจากพบว่ายารักษาโรคจิตนั้นออกฤทธิ์โดยการปิดกั้น dopamine
receptor type 2
สารนำสื่อประสาทอีกชนิดหนึ่งที่สนใจกันคือ serotonin พบว่าการทางานของ serotonin-2
receptor ใน frontal cortex ของผู้ป่วยจิตเภทลดลง
และยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่ออกฤทธิ์ในการรักษาที่เกี่ยวข้องกับระบบ serotonin
1.3กายวิภาคของสมอง ผู้ป่วยโรคจิตเภทจานวนหนึ่งมีความผิดปกติด้านกายวิภาคของสมอง
เช่น มี ventricle โตกว่าปกติ
ปริมาณเนื้อสมองน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะในส่วนของ cortical gray matter การศึกษาในระดับเซลล์ไม่พบว่ามี gliosis หรือหลักฐานอื่นที่บ่งชี้ว่าโรคนี้เป็น neurodegenerative
disorder แนวคิดในปัจจุบันมองว่าโรคนี้เป็น neurodevelopmental
disorder
1.4ประสาทสรีรวิทยา พบว่า cerebral
blood flow และ glucose metabolism ลดลงในบริเวณ frontal lobe เชื่อว่าอาการด้านลบและอาการด้าน cognitive มีความสัมพันธ์กับ prefrontal lobe dysfunction อย่างไรก็ตามแนวคิดปัจจุบันมองว่า
การทำงานของสมองในผู้ป่วยโรคจิตเภทมิได้เป็นจากความผิดปกติเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่งของสมอง
หากแต่เป็นความผิดปกติในการทางานของสมองหลายๆ วงจรที่เกี่ยวโยงกัน ทั้งในระดับ cortical และ subcortical อาจมองว่าโรคจิตเภทนี้เป็นโรคของ disturber
neural connectivity
2.ปัจจัยทางด้านครอบครัวและสังคม
2.1เดิมเชื่อว่าลักษณะของมารดาบางประการ
หรือการเลี้ยงดูบางรูปแบบทาให้เด็กเมื่อโตขึ้นป่วยเป็นโรคจิตเภท
การศึกษาในช่วงต่อมาไม่พบหลักฐานสนับสนุนความเชื่อนี้
สภาพครอบครัวมีผลต่อการกำเริบของโรค พบว่าครอบครัวของผู้ป่วยที่อาการกำเริบบ่อยจะมีการใช้อารมณ์ต่อกันสูง
ได้แก่ การตำหนิวิพากษ์วิจารณ์ มีท่าทีไม่เป็นมิตร
หรือจู้จี้ยุ่งเกี่ยวกับผู้ป่วยมากเกินไป
2.2ผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเภทพบมากในสังคมที่มีเศรษฐกิจฐานะต่ำซึ่งมีสมมุติฐานว่าการที่ผู้ป่วยมีอาการโรคจิตอยู่เรื่อยๆทำให้การดำรงชีพไม่สามารถคงอยู่ได้ในสถานภาพเดิมหรือการที่สภาพสังคมบีบคั้นทำให้คนเป็นโรคจิตเภทมากขึ้น
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคจิตเภท
เชื่อว่าเป็นกลุ่มอาการจากหลายๆ สาเหตุ แนวคิดที่ยอมรับกันในปัจจุบันคือ stress-diathesis model ซึ่งเชื่อว่าผู้ป่วยนั้นมีแนวโน้มหรือจุดอ่อนบางอย่างอยู่แล้ว
เมื่อพบกับสภาพกดดันบางประการทำให้เกิดอาการของโรคจิตเภทขึ้นมา
หรือสภาพกดดันนี้อาจเป็นปัจจัยด้านชีวภาพ จิตสังคม หรือหลายปัจจัยร่วมกัน
ลักษณะอาการ
อาการแสดงของโรคจิตเภทแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอาการหลัก คือ psychotic dimension, disorganized
dimension, negative dimension บางคนจัดรวม psychotic
dimension และ disorganized dimension อยู่ในกลุ่ม อาการด้านบวก (positive dimension)
1.Psychotic dimension ได้แก่ อาการหลงผิด
และอาการประสาทหลอน
-อาการหลงผิดชนิดที่พบบ่อย ได้แก่
หลงผิดว่าตนเองถูกปองร้ายกลั่นแกล้ง (persecutory delusion), หลงผิดว่าพฤติกรรมของคนอื่น
หรือเรื่องต่างๆที่เกิดในโทรทัศน์วิทยุเป็นไปเพื่อสื่อความหมายถึงตนเอง (delusion
of reference) , หลงผิดว่าตนเองมีอำนาจ
มีความสามารถพิเศษหรือเป็นบุคคลสา คัญ(grandiose delusion) , รู้สึกว่าความคิดของตนเองกระจายออกนอกตัวทำให้คนรอบข้างรู้หมดว่าตนเองคิดอะไร (thought
broadcastion) เป็นต้น อาการหลงผิดที่มีน้ำหนักในการวินิจฉัย
ได้แก่ bizarre delusion ซึ่งเป็นอาการหลงผิดที่มี
ลักษณะแปลกเป็นไปไม่ได้เลย
-อาการประสาทหลอนที่พบบ่อยในโรคจิตเภทจะเป็นหูแว่ว
โดยเสียงที่ได้ยินจะเป็นเรื่องราวชัดเจน
อาการประสาทหลอนที่น้ำหนักในการวินิจฉัยได้แก่
ได้ยินเสียงคนพูดกันเรื่องของผู้ป่วย (voice discussing) เสียงวิจารณ์พฤติกรรมของผู้ป่วย (voice commention) อาการประสาทหลอนชนิดอื่นอาจพบได้บ้างส่วนอาการประสาทหลอนเป็นเพียงเสียงเรียกชื่อเสียงสัตว์เสียงเปิดปิดประตู
หรืออาการประสาทหลอนที่เกิดขณะเคลิ้ม หลับหรือตื่นนั้นไม่มีน้ำหนักในการวินิจฉัย
2.
Disorganized dimension ได้แก่ disorganized behavior และ disorganized speech
3.
Negative dimension เป็นภาวะที่ขาดในสิ่งที่คนทั่วๆ ไปควรมี เช่น ในด้านความรู้สึก
ความต้องการ ในสิ่งต่างๆ อาการเหล่านี้จัดเป็นอาการด้านลบ (negative
symptom) ได้แก่ Alogia พูดน้อย
เนื้อหาที่พูดมีน้อย ใช้เวลานานกว่าจะตอบ Affective flattening การแสดงออกทางด้านอารมณ์ลดลงมาก หน้าตาเฉยเมย ไม่ค่อยสบตา Avolition ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชาลง ทา อะไรได้ไม่ค่อยนานก็เลิกทา
โดยไม่มีเหตุผล ในระยะอาการกำ เริบ อาการสำคัญส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาการด้านบวก
ส่วนกลุ่มอาการด้านลบนั้นมักพบ ในระยะหลังของโรค
และไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเหมือนกลุ่มอาการด้านบวกระยะหลังพบว่าผู้ป่ วย
ยังมีอาการอีกกลุ่มหนึ่งได้แก่ cognitive dysfunction หลานคนมีความเห็นว่าอาจเป็นอาการสำคัญ
พื้นฐานของโรคนี้มักพบได้ก่อนเกิดอาการกำเริบชัดเจน อาการเหล่านี้ได้แก่ สมาธิแย่ลง
การตีความสิ่งต่างๆ
ระยะการดำเนินโรค
การดำเนินโรคโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1.ระยะก่อนเริ่มอาการ (prodromal phase) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
มักมีปัญหาในด้านหน้าที่ความรับผิดชอบหรือด้านสัมพันธภาพ
การเรียนหรือการทางานเริ่มแย่ลง ญาติสังเกตว่าเกียจคร้านกว่าเดิม
ไม่ค่อยไปกับเพื่อนเหมือนเคย เก็บตัวอยู่แต่ในห้อง
ละเลยเรื่องสุขอนามัยหรือการแต่งกาย เขาอาจหันมาสนใจในด้านปรัชญา ศาสนา
หรือจิตวิทยา มีการใช้คำหรือสานวนแปลกๆ บางครั้งมีพฤติกรรมที่ดูแล้วแปลกๆ
อาจออกระแวงนิดๆ แต่ก็ไม่ถึงกับผิดปกติชัดเจน
ญาติหรือคนใกล้ชิดมักเห็นว่าผู้ป่วยเปลี่ยนไปไม่เหมือนคนเดิม
ระยะเวลาช่วงนี้ไม่แน่นอนโดยทั่วไปบอกยากกว่าเริ่มผิดปกติตั้งแต่เมื่อไร
โดยเฉลี่ยนานประมาณ 1 ปีก่อนอาการกาเริบ
การพยากรณ์โรคจะไม่ดีหากระยะนี้เป็นอยู่นานและผู้ป่วยดูแย่ลงเรื่อยๆ
2.ระยะอาการกำเริบ (active
phase) เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีอาการตามเกณฑ์การวินิจฉัยข้อ A ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาการด้านบวก
3.ระยะอาการหลงเหลือ (residual
phase) อาการคล้ายคลึงกับระยะเริ่มมีอาการ
อาจพบ flat
affect หรือเสื่อมลงมากกว่า อาการโรคจิต เช่น
ประสาทหลอนหรือหลงผิด อาจยังมีอยู่ แต่มิได้มีผลต่อผู้ป่วยมากเหมือนในช่วงแรก
พบว่าร้อยละ 25 ของผู้ป่วยโรคจิตเภทมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย
และส่วนใหญ่เกิดในช่วงนี้
ในระยะอาการหลงเหลือผู้ป่วยอาจมีอาการกาเริบเป็นครั้งคราว
พบว่าผู้ป่วยจะทนต่อความกดดันด้านจิตใจได้ไม่ดี
อาการส่วนใหญ่กาเริบเมื่อมีความกดดันด้านจิตใจ
อาการเปลี่ยนแปลงก่อนกาเริบที่พบบ่อย ได้แก่ การนอนหลับผิดปกติไป แยกตัวเอง
วิตกกังวล หงุดหงิด คิดฟุ้งซ่าน และมักเชื่อมโยงเหตึการณ์ต่างๆ เข้ากับตนเอง
การวินิจฉัย
A. มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป นาน 1 เดือน
1. อาการหลงผิด
2. อาการประสาทหลอน
3. Disorganized speech
4. Grossly disorganized behavior หรือ catatonic behavior
5.อาการด้านลบ
ได้แก่ fiat affect, alogia หรือ avolition
หมายเหตุ
แม้มีเพียงอาการเดียวก็ถือว่าเข้าเกณฑ์ หากเป็น bizarre delusion,
voice discussing
B. มีความเสื่อมหรือปัญหาในด้าน social/occupational
function มาก เช่น ด้านการงาน สัมพันธภาพต่อผู้อื่น
หรือสุขอนามัยของตนเอง
C. มีอาการต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยต้องมี active phase (ตามข้อ 1) อย่างน้อยนาน 1 เดือน
และระยะที่เหลืออาจเป็น prodromal หรือ residual
phase
การรักษา
1.การรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลจะรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลในกรณีต่อไปนี้
- มีพฤติกรรมเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น
หรือก่อความเดือดร้อน รำคาญแก่ผู้อื่น
- มีปัญหาอื่นๆ ที่ต้องดูแลใกล้ชิด
เช่น มีอาการข้างเคียงจากยารุนแรง
- เพื่อควบคุมเรื่องยา ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ยอมกินยา
- มีปัญหาในการวินิจฉัย
การรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลจะช่วยลดความเครียดที่มีในผู้ป่วยและครอบครัวลง
ผู้ป่วยได้รับการดูแลภายใต้จากบุคลากรด้านจิตเวชซึ่งจะช่วยในด้านอื่นๆ ที่มีปัญหานอกเหนือไปจากเรื่องยา
ระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลโดยเฉลี่ยประมาณ 3-6 สัปดาห์
2.การรักษาด้วยยา การรักษาด้วยยารักษาโรคจิตนั้นเป็นหัวใจของการรักษา
นอกจากเพื่อการควบคุมอาการด้านบวกแล้วยังสามารถลดการกำเริบซ้ำของโรคได้ พบว่าผู้ป่วยที่กลับมีอาการกาเริบซ้าอยู่บ่อยๆ
นั้น ส่วนใหญ่มีปัญหามาจากการขาดยา การรักษานั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง
1.ระยะควบคุมอาการ
(active phase) เป้าหมายของการรักษาในระยะนี้ คือ การควบคุมอาการให้สงบลงโดยเร็ว
การที่อาการวุ่นวายหรือพฤติกรรมของผู้ป่วยโดยทั่วไปดีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกนั้น เป็นมาจากฤทธิ์ของยาทาให้สงบ
ส่วนฤทธิ์ในการรักษาอาการโรคจิตของยานั้นต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์จึงจะเห็นผล ยาที่ใช้ได้แก่
haloperidol ขนาด 6-10 มก./วัน หรือยาอื่นที่มีขนาดเทียบเท่ากัน หากผู้ป่วยมีอาการวุ่นวายมากอาจให้
benzodiazepine ขนาดสูงเช่น diazepam 5-10 มก.
กินวันละ 3-4 เวลาร่วมไปด้วย หลังจาก 2
สัปดาห์แล้วหากอาการโรคจิตยังไม่ดีขึ้น จึงพิจารณาเพิ่มขนาดยาโดยทั่วไปจะไม่ให้
haloperidol ขนาดเกิน 20 มก./วัน
2.ระยะให้ยาต่อเนื่อง
(stabilization phase) หลังจากที่อาการสงบลงแล้ว ผู้ป่วยยังจาเป็นต้องได้รับยาต่อเนื่องเพื่อควบคุมอาการต่อไป
ยารักษาโรคจิตที่ใช้ควรให้ขนาดเท่าเดิมต่อไปอีกนาน 6 เดือน การลดยาลงเร็วหรือหยุดยาในช่วงนี้อาจทาให้อาการกำเริบได้
3.ระยะอาการคงที่
(maintenance phase) เป็นช่วงที่ผู้ป่วยอาการทุเลาลงแล้วแต่ยังคงต้องให้ยาต่อเพื่อป้องกันมิให้กลับมามีอาการกำเริบซ้ำยิ่งผู้ป่วยที่มีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี
การควบคุมด้วยยายิ่งเป็นสิ่ง สำคัญ ขนาดของยาจะต่ำกว่าที่ใช้ในระยะแรก โดยทั่วไปเมื่อไม่มีอาการด้านบวกที่ชัดเจนแล้ว
จะค่อยๆ ลดขนาดยาลงร้อยละ 20 ทุก 4-6 เดือนจนถึงขนาดต่ำสุดที่คุมอาการได้
โดยขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน ขนาดยา haloperidol ที่ใช้ในระยะนี้โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ
2-4 มก./วัน ในผู้ป่วยที่มีปัญหาการกินยาอาจใช้ยาฉีด
ประเภท long acting ผู้ที่ป่วยครั้งแรกหลังจากอาการโรคจิตดีขึ้นแล้ว
จะพิจารณาหยุดการรักษาได้ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่มีอาการเลยนานอย่างน้อย 1 ปี หากผู้ป่วยมีอาการกำเริบครั้งที่สองควรให้ยาต่อเนื่องไปนานอย่างน้อย
5 ปี หรือตลอดชีวิต
3.การรักษาด้วยไฟฟ้า
(electroconvulsive therapy : ECT) การรักษาด้วยไฟฟ้าในผู้ป่วยโรคจิตเภทนั้นผลไม่ดีเท่าการรักษาด้วยยา
โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา โดยใช้ ECT ร่วมไปด้วย โดยทา ECT สัปดาห์ละ 3 ครั้ง จานวนทั้งหมดประมาณ 12 ครั้ง นอกจากนี้ยังอาจใช้ในผู้ป่วยชนิด
catatonic หรือผู้ป่วยที่มี severe depression ร่วมด้วย
4.การรักษาด้านจิตสังคม
การบำบัดด้านจิตสังคมนี้เป็นส่วนสำคัญของการรักษา เนื่องจากอาการของผู้ป่วยมักก่อนให้เกิดปัญหาระหว่างตัวเขากับสังคมรอบข้าง
แม้ในระยะอาการดีขึ้นบ้างแล้ว ปัญหาทางด้านสังคมก็ยังคงมีอยู่หากผู้รักษามิได้สนใจช่วยเหลือแก้ไข
นอกจากนี้อาการบางอย่าง เช่น อาการด้านลบ หรือภาวะท้อแท้หมดกาลังใจ ไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา
จึงจาเป็นยิ่งที่ผู้รักษาจะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านจิตสังคมของผู้ป่วย เพื่อที่จะเข้าใจและช่วยเหลือเขาได้ในทุกด้าน
มิใช่เป็นเพียงแค่ผู้รักษาโรคเท่านั้น
1. จิตบำบัด
(Psychotherapy) ใช้วิธีการของจิตบาบัดชนิดประคับประคอง ผู้รักษาพึงตั้งเป้าหมายตามที่เป็นจริงและผู้ป่วยสามารถนาไปปฏิบัติได้
เช่น ช่วยผู้ป่วยในการหาวิธีแก้ปัญหาในแบบอื่นที่เขาพอทาได้ ให้คาแนะนาต่อปัญหาบางประการในฐานนะของผู้ที่มีความรู้มากกว่า
ช่วยผู้ป่วยค้นหาดูว่าความเครียดหรือความกดดันอะไรที่เขามักทนไม่ได้ เป็นต้น
2. การให้คำแนะนำแก่ครอบครัว
(Psychoeducation or family counseling) ผู้ปกครองมักเข้าใจว่าเป็นเพราะตนเลี้ยงดูไม่ดี
จึงทาให้ผู้ป่วยเป็นโรคจิต เกิดความรู้สึกผิด หรือกล่าวโทษตนเอง นอกจากนี้บางครอบครัวมีการใช้อารมณ์ต่อกันสูง
และอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นเวลานานในแต่ละวัน ซึ่งอาจเป็นการไปเพิ่มความกดดันแก่ผู้ป่วย
ทั้งสองกรณีนี้การทาครอบครัวบาบัดหรือให้ความรู้ในเรื่องโรค รวมทั้งสิ่งที่ญาติควรปฏิบัติต่อผู้ป่วย
จะช่วยได้เป็นอย่างยิ่ง
3. กลุ่มบำบัด
(group therapy) เป็นการจัดกิจกรรมกลุ่มระหว่างผู้ป่วย โดยส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกว่ามีเพื่อน
มีคนเข้าใจ ไม่โดดเดี่ยว มีการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาและให้คาแนะนาแก่กัน ฝึกทักษะทางสังคม
เน้นการสนับสนุนให้กาลังใจ
4. นิเวศน์บำบัด
(milieu therapy) เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลเพื่อช่วยส่งเสริมขบวนการรักษา
ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในหอผู้ป่วย การจัดสภาพแวดล้อมภายในหอผู้ป่วยให้น่าอยู่
ระบบการบริหารเป็นแบบให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเป็นบางส่วน ผู้ป่วยต้องช่วยในกิจกรรมต่างๆ
เท่าที่พอทำได้ เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของผู้ป่วย
อ้างอิง:
จารุวรรณ ก้านศรี.(2556).โรคจิตเภท(Schizophrenia).สืบค้นเมื่อ 04 เมษายน 2559
.
http://202.129.38.2/vchar/wp-content/uploads/2013/08/schizophrenia.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น