วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

ปัญญาอ่อน(Mental Retardation)


ปัญญาอ่อน(Mental Retardation)

  คือ ภาวะที่สมองหยุดพัฒนาหรือพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดความบกพร่องของทักษะต่างๆ เช่น ด้านสติปัญญา ภาษา การเคลื่อนไหว และทางสังคม ภาวะปัญญาอ่อนอาจมีหรือไม่มีความผิดปกติทางกายหรือทางจิตร่วมด้วยก็ได้ ส่วนระดับภาวะของปัญญาอ่อนตามธรรมดาจะประเมินด้วยการตรวจเชาวน์ปัญญาแบบมาตรฐาน แต่การตรวจนี้ อาจแทนด้วยการประเมินความสามารถในการปรับตัวทางสังคม
ซึ่งใช้เพื่อประมาณระดับของภาวะปัญญาอ่อน สำหรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องจะใช้การทดสอบเชาวน์ปัญญาโดยผู้ตรวจที่มีความชำนาญ ความสามารถทางสติปัญญา และการปรับตัวทางสังคมอาจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากไม่ดีหรือต่ำ มาดีขึ้นจากการฝึกสอนและฟื้นฟูสมรรถภาพ การวินิจฉัยควรพิจารณาระดับความสามารถในเวลาปัจจุบัน  

ภาวะปัญญาอ่อนระดับน้อย (Mild Mental Retardation)ภาวะปัญญาอ่อนระดับน้อย ประมาณระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q.) อยู่ระหว่าง 50 - 69(อายุสมองเท่ากับเด็กอายุ ปี-ต่ำกว่า 12 ปี) ทำให้มีปัญหาการเรียนในโรงเรียน ในวัยผู้ใหญ่หลายคนสามารถทำงาน และมีสัมพันธภาพทางสังคมที่ดี และช่วยเหลือสังคมได้

ภาวะปัญญาอ่อนระดับปานกลาง (Moderate Mental Retardation) ภาวะปัญญาอ่อนระดับปานกลาง ประมาณระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q.) อยู่ระหว่าง 35 - 49 (อายุสมองเท่ากับเด็กอายุ ปี-ต่ำกว่า 9ปี) ทำให้มีการพัฒนาล่าช้าในวัยเด็ก แต่บางส่วนสามารถเรียนรู้ การช่วยเหลือตนเอง การสื่อความหมาย และทักษะการศึกษา ในวัยผู้ใหญ่ต้องการความช่วยเหลือในระดับต่างๆ ในการอยู่อาศัยและทำงานในชุมชน

ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรง (Severe Mental Retardation)ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรง ประมาณระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q.) อยู่ระหว่าง 20 - 34 (อายุสมองเท่ากับเด็กอายุ ปี-ต่ำกว่า ปี) ทำให้ต้องดูแลและช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงมาก (Profound Mental Retardation) ภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงมาก ประมาณระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q.) ต่ำกว่า 20 (อายุสมองเท่ากับเด็กอายุ ต่ำกว่า ปี) จำกัด ความสามารถในทุกด้าน ทั้งเรื่องการดูแลตนเอง การสื่อสารและ การเคลื่อนไหว
คือสภาวะที่เชาวน์ปัญญาต่ำกว่าปกติ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดหรือในวัยเด็ก ทำให้การเรียนรู้ การปรับตัวในสังคม ซึ่งหมายถึงการสามารถพึ่งตนเองและความสามารถรับผิดชอบต่อสังคมตามควรแก่วัยหรือตามที่สังคมของตนหวังไว้บกพร่องไป รวมทั้งการพัฒนาทางบุคลิกภาพ ก็ไม่เจริญสมวัย ทั้งมักพบความผิดปกติในอารมณ์ร่วมด้วย ความรุนแรงของโรคคิดตามระดับ IQ IQ ของคนปกติได้มีผู้ศึกษาหามาตรฐานไว้แล้วว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๐๐ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) เท่ากับ ๑๕ คนที่จัดว่าเป็นปัญญาอ่อนคือ คนที่ระดับ IQ ต่ำกว่า IQ เฉลี่ยมากกว่า ๒ เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ IQ ต่ำกว่า ๑oo-(๒ ๑๕) เท่ากับ ๗๐ ที่เลือก IQ ๗๐ เป็นขอบเขตสูงสุดของปัญญาอ่อน เพราะคนที่IQ ตั้งแต่ระดับนี้ลงมาจะต้องการการดูแลและการคุ้มครองเป็นพิเศษกว่าเด็กอื่น โดยเฉพาะในวัยเข้าโรงเรียน IQ ต่ำกว่า ๕๐ ถือว่าเชาวน์ปัญญาต่ำมาก และเป็นพวกที่มีความผิดปกติในสมองร่วมด้วยเป็นส่วนใหญ่ตามการจำแนกโรคของสมาคมจิตแพทย์อเมริกันครั้งที่ ๓ ค.ศ. ๑๙๘๐ หรือ DSM-III จะจัดบุคคลอยู่ในกลุ่มปัญญาอ่อนเฉพาะเมื่ออาการของโรคเกิดก่อนอายุ ๑๘ ปีเท่านั้น ในกรณีที่ลักษณะของปัญญาอ่อนปรากฎเป็นครั้งแรกหลังอายุ ๑๘ ปี ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น dementia และคนที่แสดงอาการของปัญญาอ่อนก่อนอายุ ๑๘ ปี แต่เคยมีเชาวน์ปัญญาปกติมาก่อน ควรวินิจฉัยว่าเป็นทั้งdementia และปัญญาอ่อน

ระบาดวิทยา

พบอุบัติการของปัญญาอ่อนประมาณร้อยละ ๑ ของประชากร (dsm-iii) บางตำราว่าสูงถึงร้อยละ ๒-๓ เพศชายพบมากกว่าเพศหญิง สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิงประมาณ ๒ ต่อ ๑ พบในคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำมากกว่าคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง และมักเป็นคนที่อยู่ในชนบทร้อยละ ๑๗ ของผู้ป่วยมีประวัติครอบครัวเป็นปัญญาอ่อนด้วย

สาเหตุ

๑. ปัจจยทางชีววิทยา พบได้ร้อยละ ๒๐-๒๕ ของผู้ป่วยปัญญาอ่อน ที่พบบ่อยคือ ความผิดปกติของโครโมโซมและเมตาบอลิส์ม ได้แก่ Down’s syndrome และ Phenylketonuria ในรายเหล่านี้มักจะวินิจฉัยได้ตั้งแต่เกิด หรือตั้งแต่ยังเล็กมาก ความรุนแรงของโรคจะอยู่ระหว่างปัญญาอ่อนขนาดปานกลางถึงขนาดรุนแรง และพบในคนทุกระดับเศรษฐกิจสังคม ในแม่ที่ดื่มสุราจัดขณะตั้งครรภ์ทารกอาจปัญญาอ่อนได้
ปัจจัยทางชีววิทยาจำแนกเป็น
๑.๑ ความผิดปกติในโครโมโซม เช่น Downs syndrome หรือ Mongolism, Turners syndrome และ Klinefelter’s syndrome
๑.๒ การติดเชื้อหรือสภาวะเป็นพิษ (intoxication) ในมารดา ได้แก่ โรค Rubel­la, Toxoplasmosis, Syphilis, Cytomegalic inclusion body disease และ Toxemia pregnancy (ภาวะครรภ์เป็นพิษ)
๑.๓ การติดเชื้อหรือสภาวะเป็นพิษในทารก ได้แก่ การติดเชื้อชนิดต่างๆ ของสมองและเยื่อหุ้มสมอง Kernicterus และ Post-immunization
๑.๔ ความผิดปกติในเมตาบอลิสม์และโภชนาการ ได้แก่ โรค Lipoidoses, Phe­nylketonuria, galactosemia, Hypothyroidism (cretinism) และการขาดอาหาร
๑.๕ ความกระทบกระเทือนต่อสมองจากการคลอด เช่น การกระทบกระเทือนจากเครื่องมือที่ช่วยการคลอด ภาวะขาดอ๊อกซิเจน (asphyxia)
๑.๖ ความบกพร่องของระบบประสาท ได้แก่ Sturge-Weber syndrome, Tube­rous sclerosis (epiloia), Laurence-Moon-Biedle syndrome
๑.๗ ความบกพร่องของกระดูก ได้แก่ Genetic microcephaly, Hypertelolism และOxycephaly
๑.๘ การคลอดก่อนกำหนด (prematurity)
๒. ปัจจัยทางจิต-สังคม (psychosocial factor) หมายถึง พวกที่ไม่พบสาเหตุทางชีววิทยาชัดIจนIQ ของผู้ป่วยที่เกิดจากปัจจัยนี้จะต่ำไม่มาก คือ อยู่ระหว่าง ๕๐-๗๐ และมักจะสังเกตได้เมื่อเข้าโรงเรียน พบในพวกที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำมากกว่า และมีประวัติปัญญาอ่อนในครอบครัวด้วย ปัจจัยนี้ประกอบด้วย
๒.๑ การขาดความสัมพันธ์กับสังคมหรือสิ่งแวดล้อม (psychosocial or environmental deprivation) แบบต่างๆ เช่น การขาดการสังคม ไม่ได้รับการสอน ไม่ได้ยินได้ฟัง หรือขาดการกระตุ้นทางเชาวน์ปัญญา
๒.๒ หลังการเจ็บป่วยทางจิตอย่างรุนแรง
๓. เกิดจากทั้ง ๒ ปัจจัยร่วมกัน เช่น เกิดความผิดปกติทางชีววิทยาและขาดการกระตุ้นทางเชาวน์ปัญญาด้วย
การจำแนกปัญญาอ่อนตามความรุนแรงของอาการ เป็น ๔ ขนาด
๑. ขนาดน้อย (Mild mental retardation) IQ = ๕๐-๗๐
๒. ขนาดปานกลาง (Moderate mental retardation) IQ = ๓๕-๔๙
๓. ขนาดรุนแรง (severe mental retardation) IQ = ๒๐-๓๔
๔. ขนาดรุนแรงมาก (Profound mental retardation) IQ ต่ำกว่า ๒๐

ลักษณะทางคลีนิค

ผู้ป่วยพวกนี้จะมีความสามารถในการเรียนรู้ด้อยกว่าเด็กปกติ พึ่งตนเองไม่ค่อยได้ รับผิดชอบต่อสังคมได้น้อยกว่าที่ควรจะทำได้ตามวัยของตน และการเจริญทางบุคลิกภาพและอารมณ์ ไม่สมวัยนอกจากนั้นยังมักพบปัญหาโรคจิต โรคประสาทร่วมด้วย อาจมีปัญหาทางพฤติกรรม เช่น หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว temper tantrum, stereotyped movement หรือ hyperactivity และบ่อยๆ ที่มีความผิดปกติของระบบประสาทโดยเฉพาะในพวกที่เป็นรุนแรง เช่น หูหนวกหรือ สายตาไม่ดี ชัก หรือ cerebral palsy ยิ่งกว่านั้นการพัฒนาทางร่างกายยังช้าด้วยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่สามารถทำอะไรได้ตามลำพัง เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำและการช่วยเหลือในด้านการเงินอยู่เสมอ
ลักษณะทางคลีนิคที่ต่างกันในปัญญาอ่อนขนาดต่างๆ
ก. ขนาดน้อย พบประมาณร้อยละ ๘ของพวกปัญญาอ่อน (DSM-III) ผู้ป่วยจะสามารถเรียนได้ สามารถมีทักษะในการสังคมและการติดต่อสื่อสารในวัยก่อนเข้าโรงเรียน (อายุ ๐-๕ ปี) มีปัญหาในด้าน sensorimotor น้อย และมักจะเห็นไม่ชัดว่าแตกต่างจากเด็กปกติจนกระทั่งอายุมากขึ้น จะเรียนได้ประมาณชั้นประถมปีที่ ๖ ในวัยผู้ใหญ่จะมีทักษะทางสังคมและในงานอาชีพเพียงขั้นต่ำ และจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำหรือการช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาสังคมหรือ ปัญหาเศรษฐกิจ
ข. ขนาดปานกลาง พบประมาณร้อยละ ๑๒ ของพวกปัญญาอ่อน (dsm-iii) ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถฝึกอบรมได้ ในวัยเก่อนเข้าโรงเรียนเขาจะสามารถพูดหรือติดต่สื่อสารกับผู้อื่นได้ แต่จะไม่รู้ว่าอะไรควรหรืออะไรไม่ควรตามที่สังคมเขาถือกัน อาจฝึกให้ทำงานและดูแลตัวเองได้ เมื่อมีผู้แนะนำ เรียนได้เพียงชั้นประถมปีที่ ๒ สามารถเดินทางไปในที่ๆ คุ้นเคยได้ตามลำพัง ในวัยผู้ใหญ่อาจทำงานที่ไม่ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษ หรืองานที่ไม่ต้องอาศัยความชำนาญเลยได้ แต่ต้องมีผู้แนะนำใกล้ชิด
ค. ขนาดรุนแรง พบประมาณร้อยละ ๗ ของพวกปัญญาอ่อน (dsm-iii) ในวัยก่อนเข้าโรงเรียนจะพบการพัฒนาทางการเคลื่อนไหวและการพูดช้า ภาษาพูดก็ไม่สื่อความหมาย ในวัยเข้าโรงเรียนอาจเรียนที่จะพูดและฝึกเกี่ยวกับอนามัยเบื้องต้นได้ แต่ไม่สามารถฝึกอาชีพ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่อาจทำงานง่ายๆ ได้ถ้ามีผู้แนะนำใกล้ชิด


ง. ขนาดรุนแรงมาก พบประมาณร้อยละ ๑ ของผู้ป่วยปัญญาอ่อน (dsm-iii) การพัฒนาทางระบบ sensorimotor ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะน้อยมาก ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งเสริมการพัฒนาของเด็กอย่างสูง และการดูแลอย่างสม่ำเสมอในวัยก่อนเข้าโรงเรียน อาจมีการเจริญทางการเคลื่อนไหวมากขึ้น แต่ฝึกให้ช่วยตัวเองได้น้อยมาก ภาษาพูดบางอย่างและการเคลื่อนไหว อาจจะเกิดเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นเด็กพวกนี้อาจช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย

การฟื้นฟูสมรรถภาพในบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา  มีดังนี้  

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical Rehabilitation)
          การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในช่วงแรกเกิด – 6 ปี ได้แก่ การส่งเสริมป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ นอกจากการส่งเสริมสุขภาพเช่นเด็กปกติ การบำบัดรักษาความผิดปกติที่อาจพบร่วมด้วย เช่น โรคลมชัก Cretinism, PKU, cerebral palsy, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนที่พบในกลุ่มอาการดาวน์ ให้การส่งเสริมพัฒนาการเพื่อพัฒนาทักษะด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ภาษา สังคมและการช่วยเหลือตนเองเพื่อให้เด็กมีความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษา การดูแลโดยทีมสหวิชาชีพ เช่น อรรถบำบัด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด เป็นต้น
          การส่งเสริมพัฒนาการ(Early Intervention)
          การส่งเสริมพัฒนาการ
 หมายถึง การจัดโปรแกรมการฝึกทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่พัฒนาการปกติตามวัยของเด็ก จากการวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับการฝึกทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาแต่เยาว์วัย จะสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าการฝึกเมื่อเด็กโตแล้ว ทันทีที่วินิจฉัยว่าเด็กมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เช่น เด็กกลุ่มอาการดาวน์ หรือเด็กที่มีอัตราเสี่ยงสูงว่าจะมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด มารดาตกเลือดคณะตั้งครรภ์ เป็นต้น สามารถจัดโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กกลุ่มนี้ได้ทันที โดยไม่ต้องนำเด็กมาไว้ที่โรงพยาบาล  โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการ คือ การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็ก บิดามารดา และคนเลี้ยงดู    มีบทบาทสำคัญยิ่งในการฝึกเด็กให้พัฒนาได้ตามโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ ผลสำเร็จของการส่งเสริมพัฒนาการจึงขึ้นอยู่กับความร่วมมือ และความตั้งใจจริงของบุคคลในครอบครัวของเด็กมากกว่าผู้ฝึกที่เป็นนักวิชาชีพ (Professional staff)
          กายภาพบำบัด
          เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญามักจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (motor development) ช้ากว่าวัย นอกจากนี้เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาขนาดหนักและหนักมาก ส่วนใหญ่ก็จะมีความพิการทางระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ด้วย ทำให้มีการเกร็งของแขน ขา ลำตัว จึงจำเป็นต้องแก้ไขอาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เพื่อช่วยลดการยึดติดของข้อต่อ และการสูญเสียกล้ามเนื้อ เด็กจะช่วยตัวเองได้มากขึ้น เมื่อเจริญวัยขึ้น
          กิจกรรมบำบัด
          การฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ การใช้มือหยิบจับสิ่งของ ฝึกการทำงานของตาและมือให้ประสานกัน (eye-hand co-ordination) เด็กสามารถหยิบจับสิ่งของ เช่น จับถ้วยกินน้ำ จับแปรงสีฟัน หยิบช้อนกินข้าว การรักษาทางกิจกรรมบำบัด จะช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นไปอย่างราบรื่นและสะดวกขึ้น
          อรรถบำบัด
          เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเกินกว่าร้อยละ 70 มีปัญหาการพูดและการสื่อความหมาย กระบวนการฝึกในเรื่องนี้ มิใช่เพื่อให้เปล่งสำเนียงเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจเท่านั้น แต่จะเริ่มจากเด็กต้องฝึกใช้กล้ามเนื้อช่วยพูด บังคับกล้ามเนื้อเปล่งเสียง ออกเสียงให้ถูกต้อง ซึ่งการฝึกพูดต้องกระทำตั้งแต่เด็กอายุต่ำกว่า ปี จึงจะได้ผลดีที่สุด

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation)

         ในช่วงอายุ 7 – 15 ปี มีการจัดการการศึกษาโดยมีแผนการศึกษาสำหรับแต่ละบุคคล (Individualized Educational Program : IEP)  ในโรงเรียนซึ่งอาจเป็นการเรียนในชั้นเรียนปกติ เรียนร่วม หรือมีการจัดการศึกษาพิเศษ ในประเทศไทยโรงเรียนที่รับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญามีอยู่ทั่วไปทั้งในกรุงเทพมหานครและในต่างจังหวัด แต่ในทางปฏิบัติก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับเด็กกลุ่มนี้

3.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ (Vocational Rehabilitation)

          เมื่ออายุ 15-18 ปี เป็นการฝึกวิชาชีพและลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน เป็นสิ่งจำเป็นมากต่อการประกอบอาชีพในวัยผู้ใหญ่ ได้แก่ ฝึกการตรงต่อเวลา รู้จักรับคำสั่งและนำมาปฏิบัติเอง โดยไม่ต้องมีผู้เตือน การปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงานและมารยาทในสังคม เมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ควรช่วยเหลือให้ได้มีอาชีพที่เหมาะสม  ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลปัญญาอ่อน สามารถดำรงชีวิตอิสระ (independent living) ในสังคมได้อย่างคนปกติ  (normalization) อาชีพที่บุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาสามารถทำได้ดี ได้แก่ อาชีพงานบ้าน งานบริการ งานในโรงงาน งานในสำนักงาน เช่น การรับส่งหนังสือ ถ่ายเอกสาร เป็นต้น ในประเทศไทย หน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้ยังมีน้อย
คำแนะนำ
การฝึกสอนบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญามีจุดมุ่งหมายสูงสุด เพื่อให้มีความเป็นอยู่ใกล้เคียงคนปกติซึ่งจะประสบความสำเร็จหรือไม่เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับตัวแปรต่อไปนี้ คือ 
   1.ระดับของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อย มีโอกาสจะพัฒนาให้สามารถดำเนินชีวิตใกล้เคียงบุคคลปกติได้ดีกว่า ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลางหรือรุนแรง
           2. ความผิดปกติที่พบร่วมด้วยซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำให้ไม่ประสบผลดีเท่าที่ควร
3.การส่งเสริมพัฒนาการ ถ้าเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะมีความพร้อมในการเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนทั่วไป มากกว่าการฝึกเมื่อเด็กโตแล้ว
           4.ความร่วมมือของครอบครัวเด็ก ครอบครัวมีความสำคัญต่อเด็กมากที่สุด ตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต จึงควรจะเตรียมครอบครัวให้เข้าใจความพิการของเด็ก ข้อจำกัดของความสามารถ ความต้องการพิเศษ ความคาดหวัง ตลอดจนวิธีการอบรมเลี้ยงดูและฝึกสอนในทิศทางที่ถูกต้อง เพราะสมาชิกทุกคนในครอบครัวมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กอย่างยิ่ง

การป้องกันภาวะบกพร่องทางสติปัญญา  สามารถป้องกันได้ดังนี้
1.             ระยะก่อนตั้งครรภ์
       ประชาชนควรได้รับความรู้เรื่องภาวะบกพร่องทางสติปัญญา และสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ เช่น การให้วัคซีนหัดเยอรมัน หรือ เกลือไอโอดีน  ให้คำแนะนำคู่สมรสเรื่องอายุมารดาที่เหมาะในการตั้งครรภ์(19-34 ปี) และระยะห่างระหว่างตั้งครรภ์ (ปี) โรคทางพันธุกรรมที่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ก่อนตั้งครรภ์และก่อนคลอด รวมทั้งการวางแผนครอบครัว
2. ระหว่างตั้งครรภ์ 
ควรฝากครรภ์ที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงและหญิงตั้งครรภ์ได้รับวัคซีนที่จำเป็นครบถ้วน ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์อย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติด ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะอาจมีผลต่อทารกในครรภ์  แนะนำการส่งเสริมสุขภาพจิตในครอบครัว และการวินิจฉัยก่อนคลอด
 3. ระยะคลอด
                ควรคลอดในสถานบริการสาธารณสุข  เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ  ที่อาจเกิดขึ้น        
              4. ระยะหลังคลอด 
ควรให้แม่และลูกได้อยู่ด้วยกันเร็วที่สุด เพื่อให้ลูกได้ดื่มนมแม่ซึ่งมีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆและมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองของลูก ระวังเรื่องตัวเหลืองในทารกแรกเกิด  ให้วัคซีนป้องกันโรค ติดตามภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเสี่ยง  ให้ความรู้แก่พ่อแม่ในการดูแลลูกยามเจ็บป่วย ระวังโรคติดเชื้อ สารพิษ และการกระทบกระเทือนต่อศีรษะลูก ให้ความรักและเอาใจใส่ต่อลูก          บุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาสามารถเรียนรู้ และดำเนินชีวิตอย่างทัดเทียมและมีความสุขในสังคมได้เช่นเดียวกับบุคคลปกติ ถ้าสังคมเปิดโอกาสและให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม อันจะเอื้ออำนวยให้บุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาได้ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น