โรคจิตสรีระแปรปรวน (Psychophysiologic disorder)
Psychophysiologic disorder หรือโรคจิตสรีระแปรปรวน มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่นPsychosomatic disorder Psychological factors affecting physical condition โรคในกลุ่มนี้ หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติของร่างกาย หรือโรคทางกายเกิดขึ้นโดยปัจจัย ทางจิตใจมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดโรค หรือทำให้ความผิดปกตินั้นๆมีอาการรุนแรงขึ้น และความผิดปกตินั้น จะต้องมีพยาธิสภาพทางกาย(Organic pathology) หรือพยาธิ สรีรวิทยา(pathophysiology) ปรากฏชัดเจน จึงไม่รวมโรคในกลุ่ม somatoform disorders ซึ่งได้แก่ somatization disorder, conversion, hypocondriasis และpsychogenic pain disorder
VI. โรคในระบบต่างๆที่จัดว่าเป็นโรคจิตสรีระแปรปรวน
1) Skin Eczema Pruritus Urticaria Neurodermatitis Psoriasis Alopecia
2) Musculoskeletal Backpain Tension headache Rheumatoid arthritis
3) Respiratory Bronchial asthma Hyperventilation syndrome
4) Cardiovascular Migraine Angina pectoris Myocardial infarction Essential hypertension
5) Gastrointestinal Peptic ulcer (duodenal ulcer) Ulcerative colitis Irritable bowel syndrome
6) Genitourinary Premenstrual syndrome & Dysmenorrhea
7) Endocrine Obesity Anorexia nervosa Sterity & repeated spontaneous abortion
8) Autoimmune Graves’s disease Hashimoto’s thyroiditis SLE Myasthenia gravis Pernicious anemia Others, eg. :rhumatoid arthritis ulcer colitis psoriasis VII.
หลักการรักษา การรักษาผู้ป่วยโรคจิตสรีระแปรปรวน อาจเป็นการรักษาโดยแพทย์ทั่วไปหรือรักษาร่วมกับ จิตแพทย์(collaborative approach)
1. การรักษาโดยแพทย์ทั่วไป
1.1 การวินิจฉัย แพทย์ผู้รักษาอาจจะต้องได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจสภาพจิตโดยละเอียด เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาทางจิตใจและสังคม กับการเกิด อาการทางกาย ตลอดจนลักษณะบุคลิกภาพของผู้ป่วยที่มีผลต่อการเจ็บป่วยและการรักษา
1.2 การรักษาอาการทางกาย ให้การรักษาตามอาการของโรคทางกายแต่ละชนิด
1.3 การช่วยเหลือด้านจิตใจและสังคม ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดูแลรักษา ผู้ป่วยทุกประเภท ผู้ป่วยโรคจิตสรีระแปรปรวนมักจะเป็นผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ และอาจมีปัญหา เรื่องการให้ความร่วมมือในการรักษา ผู้ป่วยบางรายอาจจะปฏิเสธการเจ็บป่วยของตน (denial) ทำให้ไม่ปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบางรายอาจจะพึ่งพิง (dependent) กับผู้ รักษามาก ทำให้ผู้รักษาเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ฉะนั้นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับ ผู้ป่วยจึงมีความสำคัญมาก แพทย์ควรที่จะมีท่าทีที่รับฟัง เห็นอกเห็นใจ ไม่ปฏิเสธผู้ป่วย ไม่ มองว่าเป็นโรค “แกล้งทำ” หรือ “คิดมากจนไม่หาย” เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง มากขึ้น เพื่อต้องการแสดงว่าตนป่วยจริง เทคนิคที่เป็นประโยชน์คือ
1.3.1 การให้ความมั่นใจ(reassurance) เป็นการชี้แจงเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจ ขจัดข้อ สงสัยและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักของเหตุผลและความ เป็นจริง
1.3.2 การให้คำอธิบาย(explanation) เป็นการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับปัญหาที่ผู้ป่วยต้อง เผชิญ เช่น อาการเจ็บปวด การต้องอยู่โรงพยาบาล ต้องนอนพักบนเตียง จำกัดอาหาร ฯลฯ การที่ผู้ป่วยมีความเข้าใจและทราบถึงสิ่งที่ต้องเผชิญล่วงหน้า จะทำให้ผู้ป่วยมีความพร้อมใน การปรับตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นการลดภาวะ stress ให้น้อยลงด้วย
1.3.3 การชี้แนะ(directive technique) คือการบอกสิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติ เช่น หลีกเลี่ยงปัจจัย เสี่ยงต่างๆ รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
1.3.4 การเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจต่างๆ(ventilation)ก็จะช่วยลด stress ในผู้ป่วยได้เช่นกัน
1.3.5 การจัดการกับสิ่งแวดล้อม(environmental manipulation)หมายถึงการปรับเปลี่ยนสภาพ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งบุคคลรอบข้างผู้ป่วยด้วย โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดภาวะ stress ที่เกิดจาก สิ่งแวดล้อมและคนรอบข้าง และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับสถาน-การณ์ต่างๆได้ดีขึ้น
2. การรักษาทางจิตเวช
2.1 แพทย์ผู้รักษาอาจจะปรึกษาจิตแพทย์ให้ช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกันได้หากการรักษา ทางกายร่วมกับการช่วยเหลือทางจิตใจและสังคมทั่วๆ ไปดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผลดี หรือ พิจารณาเห็นว่า ผู้ป่วยมีปัญหาทางจิตใจมาก สมควรที่จะได้รับการช่วยเหลือแก้ไขสาเหตุ การส่งผู้ป่วยไปรับ การรักษาทางจิตเวชนั้น แพทย์ควรเตรียมผู้ป่วยและอธิบายถึงเหตุผลที่ส่งปรึกษาก่อนจะช่วย ให้การรักษาได้ผลยิ่งขึ้น
2.2 การรักษาทางจิตเวชที่ใช้ในโรคจิตสรีระแปรปรวน ได้แก่
2.2.1 การทำจิตบำบัด (psychotherapy)
2.2.2 Relaxation therapy 2.2.3 Biofeedback
2.2.4 Group & family therapy
3. การป้องกัน การป้องกันโรคจิตสรีระแปรปรวนอาจทำได้หลายวิธี เช่น
3.1 การส่งเสริมสุขภาพจิตทั่วๆไป
3.2 การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคจิตสรีระแปรปรวนที่พบบ่อย เช่นความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น เพื่อให้รู้จักป้องกัน หรือมารับการตรวจรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อป้องกันภาวะ แทรกซ้อน
3.3 Stress management การจัดโปรแกรมลดความเครียดต่างๆ เช่น ความเครียดในการ ทำงาน การดำเนินชีวิตทั่วๆไป โดยแนะนำให้รู้จักวิธีคลายความเครียดและจัดการระบบการ ทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดความเครียด หรือให้เกิดน้อยที่สุด ตลอดจนการรู้จักใช้กลไกลในการแก้ปัญหา(coping mechanism) ที่เหมาะสม XI. โรคจิตสรีระแปรปรวนที่พบบ่อย
1. โรคหลอดเลือดหัวใจ(coronary heart disease) โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศไทย รองจากการตาย ด้วยอุบัติเหตุ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค (risk factors) ที่สำคัญได้แก่
1.1 ปัจจัยด้านโภชนาการ (dietary factors) เช่น การกินอาหารที่มีsaturated fat, cholesterol และ calories สูง
1.2 ความผิดปกติในระบบต่างๆของร่างกาย เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไต hypothyroidism, gout
1.3 นิสัยความเป็นอยู่ เช่น สูบบุหรี่จัด ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารมากเกินความ ต้องการของร่างกาย
1.4 ปัจจัยทางจิตสังคม (psychosocial factors) เช่น type A behaviorปัญหาในการทำงาน และชีวิตครอบครัว อารมณ์ เศร้าและวิตกกังวล
1.5 ประวัติครอบครัวของ premature atherosclerotic หรือ ความดันเลือดสูง ปัจจัยด้านจิตใจ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีการศึกษากันมากที่สุด คือ type A behavior ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ ความรู้สักเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา (excess of time urgency) และ ความรู้สึกขุ่นเคืองที่เกิดร่วมกับความรู้สึกแข่งขันสูง (competitive hostility) พบว่าผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบtype A มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้ที่มีบุคลิกภาพ แบบ type B 1.7 – 4.5 เท่า และมีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในเลือดหลาย ประการ เช่น มีระดับไขมันในเลือดสูงและมี diurnal secretion ของadrenalin เพิ่มขึ้น
การป้องกัน
1. การปรับพฤติกรรมเกี่ยวกับนิสัยการดำรงชีวิต เช่น งดสูบบุหรี่ ลดน้ำหนักออกกำลังกาย สม่ำเสมอ กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และควบคุมความดันโลหิต
2. ปรับปรุงและแก้ไข type A behavior โดยใช้
ก. Stress management training โดยใช้ - relaxation - identification and control of situations inducing stress
ข. การปรับแบบแผนการดำเนินชีวิต เช่น จัดลักษณะการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันให้ลด การแข่งขัน ความเร่งรีบ และปัจจัยต่างๆที่จะกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ขุ่นเคืองหรืออารมณ์โกรธ
2. กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction) ผู้ป่วยอาจมีปฏิกิริยาต่อการเกิดอาการเกิดอาการ Angina attack ได้หลายแบบ ที่พบบ่อยคือ ความรู้สึกกลัว และการตอบสนองโดยใช้ minimization หรือ denial คือ ไม่ยอมรับว่าตนเอง ป่วยหรืออาจป่วยเป็นโรคหัวใจ เช่น พยายามอธิบายว่าเป็นอาการท้องอืด เสียดท้อง ปฏิกิริยา ดังกล่าวพบมากในผู้ป่วยที่เคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อนมากกว่าผู้ป่วยที่มีอาการเป็นครั้ง แรก ซึ่งมีผลทำให้ผู้ป่วยมารับการรักษาช้า นอกจากนี้ยังอาจมีปฏิกิริยาแบบต่างๆดังที่มีผู้แบ่ง ปฏิกิริยาของผู้ป่วยต่อการเกิดโรคหัวใจออกเป็น
1. ยอมรับอาการเจ็บป่วยตามความเป็นจริง ให้ความร่วมมือในการรักษาและฟื้นฟู สุขภาพอย่างเหมาะสม
2. คิดว่าตนเองป่วยอยู่ตลอดเวลา ( perpetuation of sick role) มีลักษณะต้องการพึ่งพิงผู้อื่น สูง อาจมีความวิตกกังวล อารมณ์เศร้าและอาการ conversion ร่วมด้วย
3. ปฏิเสธความสำคัญของการเจ็บป่วย และพยายามดำเนินชีวิตไปตามปกติ
4. ใช้การเจ็บป่วยเป็นเครื่องมือในการควบคุมคนอื่น โดยใช้ความรู้สึกผิดและความเห็นอก เห็นใจของผู้อื่นกระตุ้นให้เข่าทำตามที่ตนต้องการ ปฏิกิริยาของผู้ป่วยมักจะเป็นไปตามขั้นตอนของการเจ็บป่วยแต่ละขั้น คือ
1. ก่อนเข้าโรงพยาบาล(pre-hospital phase) ปัญหาสำคัญคือ การปฏิเสธการเจ็บป่วยทำให้ มารับการรักษาล่าช้า ปัจจัยที่ช่วยลดการมารับการรักษาล่านี้ได้มาก คือ คำแนะนำจากคนใกล้ ชิด ดังนั้น การให้การศึกษาแก่ญาติของผู้ป่วยอย่างถูกต้องจึงมีความสำคัญมาก
2. ระยะเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล (hospital phase) ปัญหาที่พบบ่อย คือ ความวิตกกังวล อารมณ์เศร้า และการไม่ร่วมมือในการรักษา ความวิตก กังวลจะสูงมากใน 1-2 วันแรก และลดลงเมื่ออาการดีขึ้น หลังจากนั้นผู้ป่วยอาจปฏิเสธอาการเจ็บป่วย ไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ หรือมีอารมณ์เศร้าที่รู้ว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ การไม่ ร่วมมือในการักษามักจะเกิดหลังจากพ้นขีดอันตรายแล้ว คือ หลังจากวันที่ 4 ของการเข้าอยู่ใน โรงพยาบาลเป็นต้นไป มักเกิดการ denial และ dependency conflict นอกจากนี้ผู้ป่วยปักจะมีปัญหา sleep disturbance หลังจากเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย เฉียบพลัน เนื่องจาก sleep physiology เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับ อารมณ์เศร้า หรือความวิตกกังวล การรักษาใช้ยากลุ่ม benzodiazepines
3. ระยะหลังออกจากโรงพยาบาล (post hospital phase ) มักจะมีอาการซึมเศร้า (home coming depression) รู้สึกอ่อนแอช่วยตนเองไม่ได้ (ego infarction) อ่อนเพลีย ไม่มีเรียวแรง อาการเหล่านี้มักเริ่มดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ และดีขึ้น เรื่อยๆ อาการจะดีขึ้นเร็วถ้าผู้ป่วยมี physical activity ได้มาก ผู้ป่วย 85 % จะกลับไปทำงานได้ ภายใน 3 เดือน
การดูแลรักษาผู้ป่วย
1. Reassurance – ให้กำลังใจและให้การศึกษาผู้ป่วย ว่ามีโอกาสกลังเป็นปกติได้ อธิบายถึง การตรวจรักษาและการเจ็บป่วยให้ชัดเจน ยกตัวอย่างคนที่รักษาหายและกลับไปทำงานเป็น ปกติได้หลังจากมีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
2. ตระเตรียมผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน - บอกผู้ป่วยไว้ล่วงหน้าว่า อาจจุรู้สึกอ่อนเพลียไม่มีแรง หมดกำลังใจได้เป็นปฏิกิริยาที่พบได้ บ่อย ให้คำอธิบายว่าอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง เป็นจาก muscle atrophy ไม่ใช่จากโรคหัวใจ และจะแก้ไขได้โดยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยา อาหาร การออกกำลังกาย การทำงาน การมีเพศสัมพันธ์อย่าง ชัดเจนโดยควรให้ผู้ป่วยหรือญาติจดหรือมีเอกสารที่แนะนำการปฏิบัติตัวหลังการเจ็บป่วย เช่น การมีเพศสัมพันธ์ใช้พลังงานเท่ากับการเดินขึ้นบันไดตึก 1 ช น มักมีเพศสัมพันธ์ได้ 1 เดือน หลังจากมีอาการ
- การใช้ยาทางจิตเวช อาจใช้ antixiety ในรายที่มีความวิตกกังวลสูง ส่วนการใช้ยาตัวอื่นๆ เช่น antidepressants และ antipsychotics อาจใช้ได้ตามความจำเป็น แต่ต้องระมัดระวังอันตราย จากฤทธิ์ข้างเคียงต่อหัวใจ
4. การทำจิตบำบัดกลุ่ม
-เน้นที่การให้การศึกษาและให้ผู้ป่วยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับ การเจ็บป่วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจและสบายขึ้น
3. โรคความดันโลหิตสูง (Essential hypertension) โรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ (essential hypertension) เป็นโรคที่พบบ่อย และ เป็นสาเหตุของการตายที่สำคัญเหตุหนึ่ง ปัจจัยที่มีผลต่อโรคความดันโลหิตสูงมีหลายประการ (multifactorial) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านจิตใจและสังคม ได้แก่
1. ปัจจัยด้านสังคม (sociological factors) พบอุบัติการของความดันโลหิตสูงในเขตที่มีความเครียดและความขัดแย้งทางสังคมสูงมากขึ้น และความดันโลหิตในสังคมที่มีประเพณีและโครงสร้างทางสังคมที่มั่นคงมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่า เขตอื่น การศึกษาในสัตว์ทดลองก็แสดงให้เห็นว่าสภาวะแวดล้อมที่ทำให้เกิดความเครียด เช่น สภาพแออัดยัดเยียด สถานที่ที่ต้องมีการเผชิญหน้าหรือพบกับอันตรายอยู่เสมอๆเป็นเวลานาน ทำให้มีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตสูงขึ้น
2. ปัจจัยด้านจิตวิทยา (psychological factors) การเปลี่ยนแปลงในชีวิตหรือเหตุการณ์ต่างๆที่ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนจิตใจ อาจกระตุ้น ให้เริ่มเกิดความดันโลหิตสูงหรือมีอาการรุนแรงขึ้นได้ การศึกษาด้านบุคลิกภาพพบว่าผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง มักเป็นผู้ที่เก็บกดความโกรธและ ความรู้สึกก้าวร้าวไว้ภายใน ขณะที่ลักษณะภายนอกจะเป็นคนยอมคน ขี้เกรงใจ ชอบทำให้ผู้ อื่นพอใจ และพยายามควบคุมตนเองให้เป็นคนดีในสายตาผู้อื่นอยู่เสมอ การที่ผู้ป่วยเก็บกด ความโกรธไว้จะมีผลให้มีความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการหลั่ง noradrenalin มาก มี ลักษณะเหมือนอยู่ในภาวะฉุกเฉินตลอดกาล (permanent emergency) ความเครียดเป็นสภาวะที่มีผลอย่างมากต่อความดันโลหิตสูง ในอาชีพที่มีความเครียดสูง เช่น พนักงานควบคุมหอการบิน พบว่ามีระดับความดันโลหิตสูงกว่าเฉลี่ย
การรักษาด้านจิตใจ
1. การใช้ behavior therapy โดยใช้ relaxation training และbiofeedback ได้ผลค่อนข้างดี
2. ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งในการรักษา คือ ผู้ป่วยมักไม่ร่วมมือในการรักษาเนื่องจากเป็น โรคที่ไม่มีอาการแสดงให้เห็นชัดเจน โดยเฉพาะในระยะต้น แนวทางการปฏิบัติเพื่อให้ผู้ป่วย ร่วมมือในการรักษาดีขึ้น ได้แก่
1) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยที่ดี ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าการรักษาเป็นความ รับผิดชอบร่วมกันระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย และขึ้นกับความร่วมมือของผู้ป่วยเองด้วย
2) ให้เวลากับผู้ป่วยมากพอ
3) อธิบายแผนการรักษาให้ผู้ป่วยฟังอย่างชัดเจน
4) ปรับการให้ยาให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
5) ขอความร่วมมือและช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย
6) อธิบายฤทธิ์ข้างเคียงที่อาจเกิดจากยาที่ใช้ในการรักษาให้ผู้ป่วยทรายไว้ก่อน
7) คอยติดตามอาการและดูความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยอยู่เสมอถ้าเห็นว่ามีปัญหาก็ พยายามแก้ไข
4. โรคแผลในกระเพาะอาหาร ( peptic ulcer) โรคแผลในกระเพาะอาหารนี้แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ duodenal ulcer และ gastric ulcer ซึ่งมี ลักษณะแตกต่างกันหลายประการ คือ duodenal ulcer พบมากในพวกที่มีเลือดกลุ่ม o พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง (3:1) และพบมากในผู้ชายอายุน้อย มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (HCL) และ pepsin สูง และมี ระดับ pepsinogen กับuropepsin ในเลือดสูง gastric ulcer พบมากในผู้ที่มีเลือดกลุ่ม A พบในผู้หญิงและผู้ชายเท่ากัน และพบมากตาม อายุที่เพิ่มขึ้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งของกระเพาะอาหาร และมีระดับกรดใน กระเพาะอาหารและ pepsinปกติ กลุ่มอาการที่เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางจิตใจ คือ duodenal ulcer ทฤษฎีด้านจิตสรีระแปรปรวนเกี่ยวกับสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
1. บุคลิกภาพ ทฤษฎีจิตวิทยาเกี่ยวกับสมุฏฐานของโรคแผลในกระเพาะอาหารเน้นถึงปัญหา dependency conflict มากที่สุด แต่การศึกษาในระยะหลังไม่สนับสนุนว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมี บุคลิกภาพอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ Engel ได้แบ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ pseudoindependent passive dependent และ impulsive immature
2. Specificity theory ในการศึกษาผู้ป่วยซึ่งเป็นชายหนุ่มในชนชั้นกลาง Alexander พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความขัดแย้งในจิตไร้สำนึกเกี่ยวกับความรู้สึกต้องการพึ่งพิง ต้องการความรัก ความเอาใจใส่ และใช้กลไกการป้องกันตนเองแบบ overcompensation ทำให้มีบุคลิกภาพ ภายนอกแบบเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นทะเยอทะยานชอบ แข่งขัน(psedoindepenndent,striving, ambitious,highly competitive) แต่ภายในจิตใต้สำนึกก็ยังคงมีความต้องการพึ่งพิงอยู่ตลอด เวลา (persisting ungratified unconscious dependency) ทำให้เกิดchronic unconscious ” hunger” และมี persistent vagal hyperactivity นอกจากนี้ Alexander ยังอธิบายด้วยว่า ปัจจัยทางพันธุกรรมจะมีผลเป็น predisposing factor ทีทำให้เกิดอาการ ซึ่งต่อมาพบว่าการมีระดับ pepsinogen สูงสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ได้ในแบบ autosomal recessive
การรักษา การรักษาที่สำคัญคือ การรักษาอาการทางกายในขณะเดียวกันการช่วยลดความเครียด (13) และปัญหาของผู้ป่วยตลอดจนความขัดแย้งเกี่ยวกับความรู้สึกต้องการพึ่งพิง จะช่วยให้ผลการ รักษาดีขึ้น การตอบสนองต่อความต้องการพึ่งพิงในจิตใต้สำนึกของผู้ป่วย โดยไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึก เสียหน้าหรือสูญเสียความมั่นใจในตนเอง อาจทำได้โดยการแนะนำให้พักผ่อน หางานอดิเรก ให้คนใกล้ชิดช่วยดูแลรวมทั้งผลจากความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยในการรักษา เช่น การนัดอ่างสม่ำเสมอให้เวลาอธิบายเกี่ยวกับการเจ็บป่วย และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตัวในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ยา การกินอาหาร
5. โรคหอบหืด (Bronchial Asthma) ปัจจัยทางจิตใจ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดหรือทำให้มี อาการรุนแรงขึ้น โดยมีบทบาทร่วมกับปัจจัยอื่นๆ คือ กรรมพันธุ์ ภูมิแพ้ การติดเชื้อ อากาศเย็น การออกกำลังกาย กลิ่นต่างๆ ฝุ่นละออง ลักษณะทางจิตวิทยาของผู้ป่วยโรคหอบหืด
1. ไม่มีบุคลิกภาพเฉพาะที่พบในผู้ป่วยทุกราย
2. พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคนี้มีความรู้สึกต้องการการปกป้องคุ้มครองอยู่ในจิตใต้ สำนึก โดยมากมักต้องการการปกป้องคุมครองจากบุคคลใกล้ชิดโดยเฉพาะแม่ อาการจะเป็น มากเมื่อต้องแยกจากบุคคลที่เป็นที่รักเพราะกลัวการพลัดพราก หรืออาจมีอาการดีขึ้นเมื่อแยก จากบุคคลที่ใกล้ชิด เพราะมีความขัดแย้งในจิตใจเกี่ยวกับความรู้สึกต้องการการปกป้องของ ตนเองก็ได้ ลักษณะต้องการปกป้องคุ้มครองอย่างมากดังกล่าว มีผู้กล่าวว่าเกิดจากการเลี้ยงดู ของแม่ในวัยเด็ก แต่การศึกษาพบว่าลักษณะของแม่ก็อาจมีได้หลายลักษณะต่างๆกันไป นอกจากนี้ ในบางรายสาเหตุอาจเป็นจากความขัดแย้งในจิตใจในเรื่องอื่นนอกจากนี้ก็ได้ กลไกการเกิดอาการจากสาเหตุกระตุ้นทางจิตใจ เชื่อว่าผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติ โดย ผ่าน vagal nerve ไปมีผลต่อการควบคุม bronchoconstriction และการเกิด ปฏิกิริยาแบบ ภูมิแพ้ (alllergic reaction) ในปอด การรักษา นอกจากการรักษาอาการทางกายแล้ว ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง การช่วยเหลือด้านจิตใจ มักเป็นแบบประคับประคองตามปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคน และการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยมีการปรับ ตัวในด้านต่างๆดีขึ้น รวมทั้งการปรับตัวต่อการเจ็บป่วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น