วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (Dementia)


ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (Dementia)

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) หมายถึง กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของเปลือกสมอง (cerebral cortex) หรือวิถีประสาทที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทําให้เกิดความผิดปกติทางด้าน สติปัญญา ความคิด ความจําบกพร่อง หลงลืม ทั้งความจําระยะสั้นและระยะยาว การตัดสินใจผิดพลาด ความคิดทางนามธรรมผิดไป มีปัญหาในการพูด พูดซ้ําๆ ซากๆ ไม่เข้าใจคําพูด ไม่สามารถปฏิบัติงานต่างๆ ในชีวิตประจําวัน มีความสับสนในเรื่องของเวลา สถานที่ บุคคล มีความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม อาการเหล่านี้มีผลกระทบทําให้ไม่สามารถทํางานหรืออยู่ในสังคมได้

อุบัติการณ์ภาวะสมองเสื่อมในผู้สงูอายุ

จากการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างของประชากรผู้สูงอายุที่พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นซึ่งคาดว่า ในปี 2563 หรืออีก 15 ปีข้างหน้าจะมีประชากรสูงอายุที่พบจํานวน 10 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 14ของ ประชากรทั้งหมด การเพิ่มจํานวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบ โครงสร้าง เศรษฐกิจและสังคมทั้งนี้เป็นเพราะว่าผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงสูงในด้านความเจ็บป่วยเมื่ออายุ มากขึ้น สุขภาพร่างกายอ่อนแอลง มีความเสื่อมของร่างกายมากขึ้น วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้ง ทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นไปในลักษณะที่เสื่อมถอย การ ทํางานของระบบต่างๆ ลดลง มีสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอลง และเมื่อต้องเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชที่มีการ เสื่อมถอยทางพฤติกรรม อารมณ์ และการรับรู้ด้วยแล้วย่อมทําให้บุคคลนั้นบกพร่องในการทําหน้าที่ต่างๆ ลดลง โดยเฉพาะความสามารถในการดําเนินชีวิตได้อย่างปกติเหมือ คนทั่วไป ถ้าปัญหานั้นรุนแรงอาจ ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและสังคมโดยรวมโรคสมองเสื่อมเป็นปัญหาสําคัญของประชากรผู้สูงอายุและมีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิต ทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว จากการศึกษาในประชากรสูงอายุไทย พบความชุกของโรคสมองเสื่อม ร้อยละ 3.4แต่ความชุกตามกลุ่มอายุจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นโดยพบอัตราความชุกร้อยละ 1 ใน กลุ่มอายุ 60-69 ปีร้อยละ 3 ในกลุ่มอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 10 ในกลุ่มอายุ 80-89 ปี ร้อยละ 30 ในกลุ่มอายุ 90 ปีขึ้นไป เมื่อโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การดําเนินของโรคที่ ถดถอยลงอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านความจําและพฤติกรรม รวมถึงระยะเวลาการดําเนินโรคที่นานทําให้ จําเป็นต้องมีผู้ดูแลและเกิดเป็นภาวะพึ่งพา ค่าใช้จ่ายในการดูและผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ความต้องการทางการ พยาบาล และสาธารณสุขจึงมีเพิ่มมากขึ้นในที่สุดกลายเป็นปัญหาสําคัญและเกิดภาวะวิกฤติได้ในอนาคต

สาเหตุ อาการของภาวะสมองเสื่อมในผู้สงูอายุ

โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่ทําให้ผู้ป่วยมีการเสื่อมหน้าที่ของการเรียนรู้และเชาว์ปัญญาอย่างรุนแรงจน รบกวนการทําหน้าที่ทางด้านสังคมหรืออาชีพ มีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ และบางครั้งอาจมีอาการทางจิตได้ ผู้ป่วยจะแสดงออกมาในรูปของความเสื่อมทางสติปัญญา และบุคลิกภาพ เห็นได้ชัดจากการไม่รู้เวลา สถานที่และบุคคล ความจําเสื่อม สติปัญญาเสื่อม วิจารณญาณเปลี่ยนและพบ อารมณ์แปรปรวน ซึ่งพบว่าเมื่อผู้ป่วยเสียความจําระยะสั้นก่อนแล้วจึงสูญเสียความจําระยะยาว คือการที่ ผู้ป่วยมีอาการเสื่อมของการทํางานของสมองทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความจํา ความ รอบรู้ มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและบุคลิกภาพ แต่กลุ่มอาการสมองเสื่อมที่พบมากในผู้สูงอายุนั้น ต้องพิจารณาว่าเกิดขึ้นเนื่องจากอายุมากขึ้นหรือเป็นโรคสมองเสื่อม หากเป็นอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากอายุ อายุที่เพิ่มมากขึ้นนั้นโดยมากจะสูญเสียความจําเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยไม่มีผลต่อการ ทํางานหรือการใช้ชีวิตประจําวันแต่หากเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นจะมีอาการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าและมีการ สูญเสียของสมองส่วนอื่นร่วมด้วย จนผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและมีชีวิตสั้นลง โรคในกลุ่มอาการ สมองเสื่อมที่พบบ่อย คือ โรคอัลไซเมอร์

1. สาเหตุของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ   สาเหตุการเกิดโรคสมองเสื่อม พบได้หลายสาเหตุ ดังนี้

1)  เกิดจากการเสื่อมสลายของเนื้อสมองเนื่องจากเนื้อสมองมีการเส่ือมสลายหรือตายส่วนใหญ่ยังไม่ ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่พบบ่อยในกลุ่มโรคอัลไวเมอร์ โรคพาร์กินสัน และโรคอื่นๆ  
2) เกิดจากหลอดเลือดสมอง เนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหนาตัว แข็งตัว หรือมีการตีบตัว ผิดปกติ ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลง ถ้าลดลงมากถึงระดับที่ไม่เพียงพอกับการใช้งานของ สมองก็จะทําให้เนื้อสมองตายไป ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มว่าจะมีหลอดเลือดสมองตีบผิดปกติมักจะอยู่ในกลุ่มที่มี ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ผู้ที่มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลสูงหรือผู้ที่สูบบหุรี่
3)  เกิดจากการติดเชื้อในสมองที่มีเชื้อไวรัสหลายชนิด ซึ่งทําให้เกิดการอักเสบในสมอง เช่น ไวรัสสมอง อักเสบที่เกิดจากไวรัสชนิดหนึ่งที่อยู่ในหมูโดยมียุงเป็นพาหะนําโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูงและไวรัสขึ้นสมอง ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตหรือรอดชีวิตแต่มีการเสียหายของเนื้อสมองทําให้เนื้อสมองบางส่วนตายไปเกิดอาการ สมองเสื่อม และในปัจจุบันยังไม่พบเชื้อไวรัสจากวัวหรือโรควัวบ้าเมื่อมีการติดเชื้อทําให้มีการทําลายเนื้อ สมอง
4) เกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะวิตามิน เช่น วิตามินบี 1 บี 12 ผู้ที่ขาดวิตามินบี 1 มัก พบในผู้ป่วยที่ติดเหล้าหรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เมื่อได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ ทําให้เซลล์สมองทํางาน ไม่ได้ตามปกติหรืออาจถึงขั้นเซลล์สมองตายไป วิตามินบี 12 จะได้จากน้ำปลาหรืออาหารจากเนื้อสัตว์ ผู้ป่วยที่ขาดวิตามินบี 12 มักพบในผู้ที่กินมังสาวิรัตอย่างเคร่งครัด และอาจพบในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด กระเพาะอาหารและลําไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนที่ดูดซึมวิตามินบี 12 เข้าสู่ระบบร่างกาย
5)  เกิดจากการแปรเปลี่ยนของระบบเมตาบอลิกของร่างกาย เช่น การทํางานของต่อมไร้ท่อบางชนิด ผิดปกติ เช่นต่อมไทรอยด์ทํางานมากหรือน้อยไป การทํางานของตับหรือไตผิดปกติทําให้เกิดของเสียคั่งใน ร่างกาย ทําให้สมองไม่สามารถสั่งการได้ตามปกติ ถ้าภาวะอย่างคงเป็นอยู่นานๆ จะทําให้ผู้ป่วยมีอาการ สมองเสื่อมได้
6) เกิดจากการถูกกระทบกระแทกที่ศีรษะอยู่เสมอ ภาวะนี้พบบ่อยในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะได้รับการ กระทบกระแทกที่ศีรษะอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะนักมวย นักกีฬา การกระทบกระแทก ทําให้เนื้อสมองตายเป็น จํานวนมากจะทําให้มีอาการสมองเสื่อม
 7)  เกิดจากเนื้อสมองในสมอง โดยเฉพาะเนื้อสมองที่เกิดจากทางด้านหน้าของสมอง2. อาการโรคสมองเสื่อม   ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งระดับความรุนแรงได้ 3ระดับ ดังนี้
1) ระดับอ่อนหรือไม่รุนแรง (Mild) เป็นระดับที่มีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการ หลงลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องที่เพิ่งเกิด เช่นลืมว่าวางของอยู่ไหน จําชื่อคนหรือสถานที่ที่คุ้นเคยไม่ได้ ส่วน ความจําในอดีตยังดีอยู่เริ่มมีความบกพร่องในหน้าที่การงานและสังคมอย่างเห็นได้ชัดแต่ผู้ป่วยสามารถ ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจําวันได้ และการตัดสินใจยังค่อนข้างดี
 2) ระดับปานกลาง (MODERATE) ในระยะนี้ความจําจะเริ่มเสื่อมมากขึ้น มีความบกพร่องในความเข้าใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาและการตัดใจ เช่นไม่สามารถคํานวณตัวเลขง่าย ๆ ได้เปิด โทรทัศน์ไม่ได้ทําอาหารที่เคยทําไม่ได้ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เคยทําได้มาก่อน ลืมแม้กระทั่งชื่อคนใน ครอบครัวในช่วงท้ายของระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน ผู้ป่วยในระยะนี้เริ่มไม่ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ การปล่อยให้อยู่คนเดียวอาจเป็นอันตรายจําเป็นต้องอาศัยผู้ดูแลตามสมควร
3) ระดับรุนแรง (SEVERE) ในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลยแม้แต่การทํากิจวัตร ประจําวัน ต้องมีผู้เฝ้าดูแลตลอดเวลา แม้แต่ความจําก็ไม่สามารถจําสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นได้เลย จําญาติพี่น้องไม่ได้ หรือแม้แต่ตนเองก็จําไม่ได้ มีบุคลิกที่เปลี่ยนไป เคลื่อนไหวช้า ระยะนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทําให้เกิด อุบัติเหตุต่อชีวิตได้ ระยะเวลาการดําเนินของโรคอาจแตกต่างกันในแต่ละคน โดยระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมี อาการ (ระดับอ่อน) จนเสียชีวิต (ระดับรุนแรง) โดยเฉลี่ยจะประมาณ 8-10 ปี  

การรักษาป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

การที่เราสามารถทํากิจกรรมอะไรได้ ไม่ว่าจะ กิน จะเดิน จะเล่น จะทํางานต่างๆ ล้วนมาจากการ ทํางานของเซลล์ประสาทในสมอง (neurons) ทั้งนั้น สมัยก่อนเชื่อกันว่าเซลล์ประสาทในสมองคนเรา เสื่อมสภาพตามอายุไขที่มากขึ้น แต่งานวิจัยปัจจุบันค้นพบว่าเซลล์ประสาทถูกผลิตสร้างขึ้นมาใหม่เรื่อย ๆ ตลอดเวลาไม่มีหยุด แต่เซลล์ประสาทจะเสื่อมสภาพและตายไปในที่สุดถ้ามันไม่มีการถูกใช้งานต่างหาก (use it lose)  ตามปรกติแล้วเวลาเราทํากิจกรรมอะไรสักอย่าง เซลล์ประสาทในสมองจะถูกกระตุ้นและจะ เชื่อมต่อกันกับเซลล์ประสาทตัวอื่น ๆ เพื่อส่งต่อพลังงานจนกว่ากิจกรรมที่เราทํา เช่น เวลาเราเล่นดนตรี ทางเดินของเซลล์ประสาทในสมองก็จะถูกสร้างขึ้นเป็นแบบหนึ่ง  เวลาที่เราทํากิจกรรมอะไรสักอย่างซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ทางเดินของเซลล์ประสาทสําหรับกิจกรรมนี้จะถูกกระตุ้นบ่อย ๆ ยิ่งถูกกระตุ้นมากๆเข้าเพราะทํา กิจกรรมนั้นบ่อยๆ ก็ยิ่งทําให้เซลล์ประสาทนั้นแข็งแรงและไม่เสื่อมสภาพลงไปได้ง่าย 
วิธีการที่จะช่วยชะลอความเสื่อมถอยของสมอง และป้องกันโรคหลงลมืเมื่อเข้าสู่วัยชรา ดังนี้
1. ทํางานที่ต้องใช้ความคิดและสมาธิสูง ยิ่งเป็นงานที่ท้าทายและซับซ้อนได้ยิ่งดีพบว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่มีหน้าที่การงานที่ใช้ความคิดมาก ๆ นั้น จะสมองเสื่อมน้อยเป็นสองเท่าของคน อายุรุ่นราวคราวเดียวกันที่ไม่ได้ทํางานที่ใช้สมองมากนัก
2. ทํากิจกรรมเยอะ ๆ  เป็นกิจกรรมอะไรก็ได้ที่นอกเหนือจากงานประจําเป็นได้ทั้งงานอดิเรก งาน บ้าน การทํางานที่ใช้แรงกาย งานรื่นเริงบันเทิงต่าง ๆ  การเล่นเกม การอ่านหนังสือหรือการเย็บปักถักร้อยพบว่าผู้สูงอายุหลังเกษียณที่มีกิจกรรมทําตลอดเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ มี การเสื่อมถอยของสมองน้อยกว่าผู้สูงอายทุี่ไม่มีกิจกรรมทําอย่างมาก
3. หัดเข้าสังคมบ่อย ๆ การไปมาหาสู่เพื่อน ๆ ญาติ ๆ  คนรู้จัก รวมถึงการสร้างสังคมใหม่ ๆ จะช่วย ลดการชราภาพของสมองได้ เพราะการพดูคุยโต้ตอบกบัคนอื่นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ใช้สมองในการคิด  แม้ว่าในปัจจุบันการป้องกันภาวะสมองเสื่อม ยังต้องอาศัยการศึกษาวิจัยยืนยันมากกว่านี้ แต่คุณก็ สามารถป้องกันแต่เนิ่นๆ ได้ โดยปฏิบัติดังนี้
 1. รับประทานอาหารครบหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง ใช้น้ำมันพืช  เช่น น้ำมันจากดอกทานตะวัน ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดฟักทอง ถั่วเหลือง รับประทานปลาทะเลให้มาก รวมทั้ง อาหารที่มีวิตามินซี วิตามินอี และกรดโฟลกิ
2. รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์โดยไม่ให้ดรรชนีมวลกายเกิน 25
3. หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่ทําให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น การดื่มเหล้าจัด หรือการรับประทานยา โดยไม่จําเป็น
4. ไม่สูบบหุรี่หรืออยู่ในที่ๆ มีควันบุหรี่
5. การพักสมอง ได้แก่ การพยายามให้สมองได้คิดบ่อยๆ เช่น การอ่านหนงัสือ การเขียนหนังสือ บ่อยๆ การคิดเลข การเล่นเกม  การฝากการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆอยู่เสมอ
6. ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5  ครั้ง เช่น วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน เดินเล่น รํามวย จีน เป็นต้น
 7. การพูดคุย พบปะผู้อื่นบ่อยๆ เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยงต่างๆ หรือการเข้าชมรมผู้สูงอายุ  
8. ตรวจสุขภาพประจําปี หรือมีโรคประจําตัวอยู่เดิมก็ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะๆ เช่น การ ตรวจหา ดูแลและรักษาโรคความดันโลหติสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันนาเลือดสูง โรคหัวใจ ฯลฯ
9. ถ้ามีอาการเจ็บป่วย ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เพื่อลดโอกาสเกิดอาการ สับสนเฉียบพลัน
10. ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง ระวังการหกล้ม
11. พยายามมีสติในสิ่งต่างๆ ที่กําลังทําและฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา
12. พยายามไม่คิดมาก ไม่เครียด หากิจกรรมต่างๆ ทําเพื่อคลายเครียด   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น